amazon

วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สัดส่วนในการัปประทานอาหารแต่ละมื้อ





วันนี้  มาแนะนำ สัดส่วนในการทานอาหาร

1. ในการทานอาหารแต่ละมื้อ มื้อเช้าสำคัญมาก ๆ มื้อต่อไปควรห่างกันประมาณ 4 - 5 ชม. 

2. ในการทานอาหาร 2 – 3 คำแรก ควรทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ก่อนอาหารประเภทอื่น เพื่อกระตุ้นให้กระเพาะ อาหารสร้างน้ำย่อย ว่า ถึงเวลาที่ต้องย่อยอาหารแล้ว

3. ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด เพื่อในการย่อยอาหารจะได้ย่อยได้ง่าย ไม่แน่นท้อง ท้องไม่อืด เพราะการเคี้ยวให้ ละเอียดจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำความสะอาดลำไส้

4. ควรทานมื้อเช้าให้มากกว่ามื้ออื่นๆ ดังคำกล่าวที่ว่า “หนักเช้า เบาเที่ยง เลี่ยงเย็น เว้นดึก”

5. อาหารมื้อเย็น ไม่ควรทานน้ำตาล แป้งและโปรตีนมากจนเกินไป ควรทานเพียงเล็กน้อยเพื่อรองท้อง ไม่ให้หิว แสบท้องเท่านั้น ป้องกันไม่ให้กระตุ้นน้ำย่อยออกมามากเกินไป

ความดันต่ำ (ความดันตก) หน้ามืด เวียนศีรษะ

ความดันต่ำ (ความดันตก) หน้ามืด เวียนศีรษะ

  1. ถ้ามีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง, ปวดท้องหรืออาเจียนรุนแรง, ถ่ายอุจจาระดำ, ใจหวิวใจสั่น, ชีพจรเต้นเร็ว, เหงื่อแตกท่วมตัว, หรือลุกนั่งมีอาการเป็นลม ต้องไปหาหมอโดยเร็ว.
  2. ถ้าไม่มีอาการในข้อ 1 ให้ปฏิบัติดังนี้
    1. ให้นอนลงสักครู่ แล้วลุกขึ้นใหม่ โดยลุกช้าๆ อย่าลุกพรวดพราดเช่น ค่อยๆ ลุกจากท่านอนเป็นท่านั่ง แล้วนั่งพักสักครู่ ขยับและเกร็งขาหลายๆ ครั้ง, แล้วค่อยๆ ลุกขึ้นยืน, ยืนนิ่งอยู่สักครู่ แล้วจึงค่อยเดิน.
    2. ถ้ายังมีอาการ ให้กินยาหอม.
  3. ถ้าเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง ควรไปหาหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุ.
  4. ถ้ามีอาการบ้านหมุน ดู บ้านหมุน_(เห็นบ้านหรือสิ่งรอบตัวหมุน).
การป้องกัน
ให้ออกกำลังกายเพิ่มขึ้นทีละน้อย, นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ, และดื่มน้ำมากๆ.

กังวล เครียด คิดมาก หงุดหงิด นอนไม่หลับ

กังวล เครียด คิดมาก หงุดหงิด นอนไม่หลับ

  1. คิดดูว่ากังวลหรือหงุดหงิดเรื่องอะไร อะไรเป็นสาเหตุ อะไรเป็น “สาเหตุของสาเหตุ” และอะไรเป็นสาเหตุของ “สาเหตุของสาเหตุ” ต่อไปเรื่อยๆ.
  2. คิดต่อว่าเรื่องและสาเหตุเหล่านั้นจะแก้ไขได้ไหม ถ้าแก้ได้ ให้รีบแก้. ถ้าแก้ไม่ได้ ให้ปรึกษา พูดคุย (ระบาย) กับคนที่ตนรักและไว้ใจ เพื่อขอความเห็นหรือความช่วยเหลือ.
  3. ถ้าคิดไม่ออก หรือคิดว่ายังแก้ไขไม่ได้ ให้นึกถึงความจริง 3 ประการ (ไตรลักษณ์) คือ
    ก. ทุกสิ่งทุกอย่างต้องเปลี่ยนแปลง ขณะนี้เราทุกข์ ดังนั้นต่อไปเราจะต้องสุข แล้วยิ้มให้กับความจริงนี้.
    ข. ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีความขัดแย้ง ความขัดแย้งหรือทุกข์ของเรายังน้อยกว่าของเขาอื่น แล้วยิ้มให้กับความโชคดีของเรา.
    ค. ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสิ่งสมมุติที่ไม่ใช้ตัวตนอย่างแท้จริง ทุกข์เกิดจากเราคิดว่านี้เป็นตัวเรา นี่เป็นของเรา นั่นควรจะเป็นของเรา และโน่นควรจะเป็นของเราด้วย เป็นต้น แล้วยิ้มให้กับความเห็นแก่ตัวของเรา และแผ่เมตตาให้ผู้อื่น.
  4. หลบออกจากสถานที่และสิ่งที่ทำให้กังวลหงุดหงิด.
  5. ออกกำลังกายให้มากขึ้น ทำสิ่งที่ตนชอบให้มากขึ้น.
  6. ฝึกสมาธิ เช่น สวดมนต์ อ่านหนังสือ ร้องเพลง เย็บปักถักร้อย วาดรูป ปลูกต้นไม้ ให้ใจสงบและหลับได้.
  7. ช่วยเหลือผู้อื่นที่ทุกข์ยากมากกว่าเรา.
  8. หางานทำให้วุ่นๆไว้ อย่าหยุดงาน อย่าอยู่เฉยๆ.
  9. คิดถึงสิ่งที่ดีงามต่างๆ อย่าคิดในทางร้าย.
  10. ถ้าเป็นมากควรไปหาหมอ อาจต้องกินยาคลายเครียดหรือยากล่อมประสาท เช่น ไดอะซีแพม (diazepam) หรืออะมิทริปไทลีน (amitriptyline) เป็นครั้งคราว.

ผู้ป่วยมะเร็ง คลายกังวลด้วยโยคะ

ผู้ป่วยมะเร็ง คลายกังวลด้วยโยคะ


โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของโลก และเป็นสาเหตุการตายสูงถึงร้อยละ ๑๓ ของประชากรผู้เสียชีวิตทั้งหมด
แนวทางการรักษาโรคมะเร็งมีหลายวิธี ได้แก่ การผ่าตัด เคมีบำบัด การฉายรังสี และการใช้วิทยาการอิมมูโน หรือการผสมผสานด้วยวิธีการดังกล่าว (การผ่าตัด เคมีบำบัด และรังสีรักษา ร่วมกัน)
โรคมะเร็งเป็นทั้งโรคที่ร้ายแรงและเรื้อรัง ทำให้ผู้ป่วยเผชิญกับปัญหาต่างๆ ตลอดระยะเวลาการเจ็บป่วย ทั้งจากอาการของโรคโดยตรง ผลข้างเคียงจากการรักษา และผลกระทบทางจิตสังคมที่เกิดจากการเจ็บป่วย โดยปัญหาจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามการดำเนินโรค การรักษา และสภาพความเป็นจริงของชีวิตผู้ป่วยในระยะต่างๆ
ความวิตกกังวลในผู้ป่วยมะเร็งเป็นอาการที่พบบ่อย ไม่ว่าจะเป็นความวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการ การรักษา หรือความไม่แน่นอนในอนาคต และการกลับเป็นซ้ำ โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับรังสีรักษา  
จากรายงานการศึกษาพบว่าความวิตกกังวลในผู้ป่วยมะเร็งที่กำลังได้รับรังสีรักษา มีความสัมพันธ์ทางลบกับการควบคุมตนเอง ซึ่งผู้ป่วยมะเร็งที่มีความวิตกกังวลมากเกินจะทำให้ความสามารถในการรับรู้และการเรียนรู้ลดลง บิดเบือนความเป็นจริง บุคลิกภาพและความคิดผิดปกติไป
งานผู้ป่วยนอกรังสีรักษา ศูนย์มะเร็งอุดรธานี มีผู้ป่วยมะเร็งมารับบริการจำนวนมาก สถิติปีงบประมาณ ๒๕๕๐, ๒๕๕๑ และ ๒๕๕๒ มีผู้ป่วยมะเร็งที่มารอตรวจที่งานผู้ป่วยนอกรังสีรักษาจำนวน ๘,๐๙๑, ๘,๖๕๔ และ ๘,๔๖๗ รายตามลำดับ เฉลี่ย ๕๑ รายต่อวัน
จากการสังเกตและสอบถามผู้ป่วยที่มารอตรวจจำนวน ๑๐ ราย พบว่าผู้ป่วยมีอาการหวาดหวั่นจะเกิดอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการรักษาด้วยรังสี โดยผู้ป่วยรายหนึ่งสอบถามเกี่ยวกับการฉายรังสีที่จะต้องได้รับภายหลังครบการรักษาด้วยเคมีบำบัด
ถามว่า “ไม่มาฉายแสงได้หรือไม่ จะเป็นอะไรมั้ยถ้าไม่มาฉายแสง”
อีกรายมีอาการซึม และร้องไห้เมื่อพูดถึงโรคมะเร็งที่เป็น เมื่อสอบถามถึงการปฏิบัติตัวขณะฉายรังสี ผู้ป่วยบอกว่า “พยาบาลสอนแล้ว แต่จำไม่ได้”
หลังจากให้คำแนะนำไปอีกครั้งพร้อมคู่มือการปฏิบัติตัวขณะฉายรังสี และสอบถามซ้ำอีกครั้งผู้ป่วยจำได้เพียงบางส่วน ไม่มีสมาธิในการรับฟังคำแนะนำ การแสดงออกดังกล่าวล้วนเป็นอาการของความวิตกกังวลซึ่งประกอบไปทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ พฤติกรรมและความคิด
จากคำถามที่ผู้ป่วยสอบถามว่า “ไม่มาฉายแสงได้หรือไม่ จะเป็นอะไรมั้ยถ้าไม่มาฉายแสง” จะเห็นได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม มีความเชื่อมโยงกัน เนื่องจากร่างกายและจิตใจถูกควบคุมด้วยการทำงานของสมอง
ดังนั้น ขณะที่สมองคิดในเรื่องไม่ดี จิตใจก็จะเกิดความวิตกกังวล และร่างกายก็จะทำงานผิดปกติไปด้วย จึงเป็นผลให้เกิดความเจ็บป่วยทางกายได้ คนที่มีความวิตกกังวลเพิ่มขึ้นในขณะที่มีการเจ็บป่วยทางร่างกาย เช่น ป่วยด้วยโรคมะเร็ง มีโอกาสเกิดโรคใหม่มาแทรกซ้อนเพิ่มขึ้นได้  และถ้าความเจ็บป่วยทางกายที่แสดงออกมาเกิดจากช่วงนั้นกำลังมีความวิตกกังวล  เมื่อความวิตกกังวลหมดไปความเจ็บป่วยทางกายก็จะหมดไปด้วย หรือค่อยๆ หายไป

การช่วยเหลือเพื่อลดความวิตกกังวลมี ๒ วิธี
๑.การใช้ยา เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีความวิตกกังวลระดับสูงมากจนมีผลเสียต่อการดำเนินชีวิตประจำวันควรได้รับยากล่อมประสาทหรือยาสงบประสาท ปัจจุบันเรียกว่ายาแก้วิตกกังวล (Antianxiety agents)
๒.การบำบัดรักษาเพื่อลดความวิตกกังวลโดยไม่ใช้ยา มีผู้เสนอไว้หลายวิธี ได้แก่
  • การเผชิญความเครียดหรือความวิตกกังวลโดยตรง (Direct coping) มี ๒ แบบคือการเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหา และแบบมุ่งอารมณ์เป็นหลัก
  • การเผชิญความเครียดหรือความวิตกกังวลโดยทางอ้อม (Indirect coping) ทำได้หลายลักษณะดังนี้ การช่วยเหลือด้านสรีรวิทยา (เช่น การใช้เทคนิคผ่อนคลาย ดนตรีบำบัด aroma therapy การนวด) ช่วยเหลือด้านพฤติกรรม (เช่น การฝึกความกล้าแสดงออก) การช่วยเหลือด้านพุทธิปัญญา (เช่น การสร้างจินตภาพ) การฝึกสมาธิแบบพุทธ และโยคะ การช่วยเหลือด้านความคิดและพฤติกรรม
พยาบาลสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีความวิตกกังวลได้ในบทบาทอิสระของพยาบาลในการช่วยเหลือโดยไม่ใช้ยา และได้ผลเป็นที่ยอมรับจากงานวิจัยต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าการฝึกโยคะสามารถช่วยลดความวิตกกังวลได้ทั้งด้านสรีรวิทยา และด้านพุทธิปัญญา
ปัจจุบันการฝึกโยคะถูกนำมาใช้เพื่อการรักษาบำบัดโรคและการเสริมสร้างสมาธิความแข็งแรงทางจิตใจ และช่วยผ่อนคลายทางอารมณ์ มีงานวิจัยพบว่าการฝึกโยคะช่วยเสริมสร้างอารมณ์ที่ดี ลดความโกรธ ลดความเครียด ลดอาการเมื่อยล้าและความตึงเครียดทางอารมณ์ ความกดดันทางอารมณ์จากการทำงานหนักและนักกีฬา ลดความสับสนทางอารมณ์ และความวิตกกังวล
โยคะคือศาสตร์ที่เป็นการผสมผสานพลังในตัวโดยการใช้การเคลื่อนไหว การหายใจ และสมาธิ เป็นผลทำให้เกิดความสมดุลกับร่างกาย เมื่อพลังร่างกาย จิตใจ และวิญญาณผสมกลมกลืนกันดีก็จะทำให้สุขภาพดี ซึ่งมีหลักเบื้องต้นในการฝึกโยคะคืออาสนะ การหายใจ การผ่อนคลาย และการทำสมาธิ

การบริหารร่างกายแบบโยคะ
อาสนะเป็นท่าบริหารร่างกายทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นมีความอ่อนตัวมากขึ้น ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น  เนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายเข้าสู่ภาวะสมดุล การหายใจเมื่อมีความวิตกกังวลเกิดขึ้นจะทำให้หายใจเร็วเกินไป ออกซิเจนออกจากร่างกายมากไป จึงเป็นผลให้ออกซิเจนในเลือดลดลงก่อให้เกิดอาการไม่สุขสบายหลายอย่างในร่างกาย เช่น วิงเวียน หายใจไม่ได้ เย็น ชาปลายมือปลายเท้า มือและเท้าเกร็งจีบ
การหายใจแบบโยคะจะช่วยให้ร่างกายได้รับอากาศบริสุทธิ์มากขึ้น ร่างกายสามารถใช้พลังงานในการนำอากาศบริสุทธิ์เข้าสู่ร่างกายน้อยลง แต่ได้อากาศบริสุทธิ์มากขึ้น เนื้อเยื่อต่างๆทำงานได้ดีขึ้นลดอัตราเสี่ยงต่อการตายของเซลล์และของเสียที่คั่งตามเนื้อเยื่อก็จะถูกขจัดออกไป
การบริหารร่างกายแบบโยคะมีจุดประสงค์โดยตรงเพื่อเข้าสู่ความผ่อนคลายซึ่งเป็นทางนำไปสู่สมาธิ การมีสติบังคับกล้ามเนื้อให้หดตัวและคลายตัวจะช่วยปลดปล่อยความวิตกกังวลและความเครียดจากจิตใจจึงช่วยลดความเกร็งของกล้ามเนื้อ ทั้งนี้เพราะความวิตกกังวลและความเครียดทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจมักแสดงออกมาในรูปของความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
นอกจากนี้ การบริหารร่างกายแบบโยคะไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ผู้ฝึกโยคะสามารถทำอาสนะได้ทั้งในอาสนะท่านั่ง อาสนะท่ายืน และอาสนะท่านอน เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไป ทุกเพศทุกวัย และผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาลก็สามารถบริหารร่างกายแบบโยคะได้เช่นกัน โดยเลือกฝึกในท่าอาสนะที่ไม่มีข้อห้ามต่อตัวผู้ป่วยนั้นๆ
งานผู้ป่วยนอกรังสีรักษา ศูนย์มะเร็งอุดรธานี จึงเลือกวิธีการบริหารร่างกายแบบโยคะ ซึ่งเป็นวิธีการที่ผสานการหายใจแบบโยคะร่วมกับการเคลื่อนไหวร่างกายโดยมีสมาธิเป็นตัวกำหนด ในการช่วยลดความวิตกกังวลสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยรังสีรักษา
ท่าโยคะอาสนะ
ทีมงานผู้ป่วยนอกรังสีรักษา ศูนย์มะเร็งอุดรธานี นำท่าโยคะที่กลุ่มผู้ป่วยหลายวัยสามารถปฏิบัติได้ ช่วยผ่อนคลายความวิตกกังวล และแต่ละท่าของโยคะอาสนะยังมีประโยชน์ดังนี้
  • ท่าภูเขา
ท่าภูเขาช่วยให้รักษาสมดุลของร่างกาย ไปตามแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งเป็นการพัฒนาความสอดคล้องในการเคลื่อนไหว หมายถึง การที่เราเหยียด ยืด ร่างกายทัง ๒ ซีกเท่าๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นความยาวที่เท่าๆ กัน และมวลที่เท่าๆ กันของร่างกาย
  • ท่านักรบ
ท่านักรบเป็นท่าที่ช่วยคืนความสดชื่น ความผ่อนคลายให้กับขาที่เมื่อยล้า เป็นผลดีต่อระบบย่อยอาหาร ขจัดอาการเครียดที่สะสมไว้ตลอดทั้งวัน และเป็นการยืดเหยียดอวัยวะต่างๆ ในช่องท้อง
  •  ท่าต้นไม้
ความงอกงามจากรากที่หยั่งลึก เป็นการเรียนรู้ที่จะรักษาสมดุล ฝึกการมีสมาธิ กายมั่นคง นำมาซึ่งความตั้งมั่นของจิต เอื้อต่อจิตภาวนา
  • ท่าดอกบัว
ท่านี้เป็นท่านั่งที่มั่นคง ช่วยให้กายตั้งมั่น สำหรับการฝึกสมาธิและฝึกหายใจ และยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับข้อเท้า เข่า สะโพก และให้ผลดีกับระบบประสาทที่ขา
  • ท่าบิดตัว
เหมาะสำหรับสร้างความแข็งแรง ความยืดหยุ่นให้กับแนวกระดูกสันหลังตลอดทั้งแนว รวมไปถึงกระดูกคอ
  • ท่างู
ท่านี้ทำให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรง เพิ่มความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลัง ช่วยการไหลเวียนของเลือด โดยเฉพาะบริเวณช่องท้องส่วนบน ช่วยระบบประสาทตามแนวกระดูกสันหลังทำงานได้ดีขึ้น พัฒนากล้ามเนื้อหน้าท้องให้แข็งแรง ระบายลมในช่องท้อง กระตุ้นระบบย่อยอาหาร คลายอาการท้องผูก
  • ท่าจระเข้
ท่านอนคว่ำที่ช่วยผ่อนคลายแบบเดียวกับท่าศพ เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการนอนหงาย (ปวดหลัง) ท่าจระเข้สามารถใช้แทนกันได้เป็นอย่างดี
  • ท่าศพ
นอนหงาย เป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อทั่วร่าง ช่วยให้ร่างกายฟื้นคืนสู่สมดุล พลังงานได้ถ่ายเทจากจุดที่มีอยู่มากเกินไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ เป็นการผ่อนคลายจิตใจ ทำให้หลับได้ดีขึ้น

6-6-6 กลยุทธ์กดปุ่มสมองไว

6-6-6 กลยุทธ์กดปุ่มสมองไว


การเคลื่อนไหวร่างกาย 6 จังหวะ มีรูปแบบการเคลื่อนไหวร่างกายหรือการเต้นรำที่เป็นระเบียบชัดเจน มีองค์ประกอบการเต้น ดังนี้
1. จังหวะที่ใช้ประกอบการเคลื่อนไหวร่างกายใช้ 6 จังหวะ ได้แก่ บีกิน, วอลซ์, ซา-ซ่า, ช่า-ช่า-ช่า, แซมบ้า และ รุมบา ในแต่ละจังหวะจะมีการเคลื่อนไหวร่างกายที่แตกต่างกันโดยใช้ร่างกายทุกส่วนประกอบการเคลื่อนไหว
2. รูปแบบการเต้นรำ มีหลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับรูปแบบการเคลื่อนไหวของเพลงแต่ละประเภท
3. การเคลื่อนไหวร่างกายมี 2 ลักษณะ คือ
3.1 การเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ ได้แก่ เหวี่ยงแขน ขา การเอียงตัว การบิดตัว การยืดตัว การก้มตัว การโยกตัว ฯลฯ
3.2 การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ ได้แก่ การเดิน การกระโดด การสไลด์ การก้าวชิดก้าว ฯลฯ
4. ทิศทางการเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวร่างกายทั้ง 6 จังหวะ มีทั้งแบบอยู่กับที่และแบบเคลื่อนที่ไปตามทิศทางและตัวเลขที่กำหนดให้บนพื้น
5. ในขณะเคลื่อนเท้าวางบนหมายเลขใด ก็ให้ยกมือข้างตรงข้ามชูนิ้วทำท่าให้ตรงกับหมายเลขนั้นบนพื้น เช่น เคลื่อนเท้าขวาไปวางบนหมายเลข 3 ก็ให้ใช้มือซ้ายยกขึ้นพร้อมกับชูนิ้วทำท่าเลข 3
 
ซา-ซ่า พาสมองใส (Neuroimaging Support for Discrete Rhythm)
1. ท่าแตะ 1-2-3
 
2. ท่าไขว้ขาด้านหน้า ซ้าย- ขวา

3. ท่าไขว้ขาด้านหลัง ซ้าย- ขวา

4. ท่าห้าเหลี่ยม 5 ตัวเลข

9. ท่า 9 ท่า 9 สเต็ป (เคลื่อนเท้าตามตัวเลข 1-9 ที่กำหนดไว้บนพื้น)