amazon
วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ซื้อสุขภาพ
เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจปนน่าเวทนาที่ปัจจุบันมีคนจำนวนไม่น้อยนิยมใช้วิธีซื้อสุขภาพแทนการสร้างสุขภาพด้วยตนเองตามวิถีธรรมชาติ ดังจะเห็นได้จากความนิยมในการกินอาหารเสริมหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและวิตามินต่างๆ โดยทำตามกระแสบริโภคนิยมที่รับมาจากประเทศที่พัฒนาแล้ว
บางคนกินวิตามินเป็นกำๆ หลังอาหารแต่ละมื้อก็ต้องมีวิตามินหรืออาหารเสริมเพราะกลัวว่าร่างกายจะได้รับไม่พอหรือคิดว่ากินเสริมให้มากไว้ก่อนจะทำให้ร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บป่วย โดยลืมคำนึงว่าการได้รับสารอาหารที่ไม่จำเป็นต้องเพิ่มหรือร่างกายมีเพียงพอแล้วนั้นอาจเกิดโทษตามมาได้
ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจ ซึ่งเริ่มจากทางซีกโลกตะวันตกอย่างอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ผู้คนจะใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบเพราะมีการแข่งขันกันมาก เวลาในการดูแลตนเองมีน้อย วิถีชีวิตต่างๆ ก็ยังเสี่ยงต่อสุขภาพ จึงเป็นโอกาสให้เกิดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมากมาย
ตลาดของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีทั้งที่วางขายทั่วไปและใช้ระบบขายตรงซึ่งจะแข่งขันกันเพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยจะพยายามสร้างความรู้สึกให้คนกลัวความเจ็บป่วย กลัวว่าร่างกายจะเสื่อมถอย นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องของความสวยความงามอีกด้วย จนทำให้หลายๆ คนต้องสรรหาวิตามินหรืออาหารเสริมมากมายมากินโดยไม่จำเป็น ในขณะที่บริษัทผู้ผลิตมีรายได้และผลตอบแทนจากกระแสสุขภาพนี้มากมายมหาศาล
การกินวิตามินหรืออาหารเสริมต่างๆ ควรคำนึงถึงความเหมาะสมเฉพาะบุคคล ไม่ใช่กินตามกระแส บางคนกินวิตามินเกือบทุกชนิดพ่วงด้วยอาหารเสริมอีกหลายตัวเลยไม่ค่อยกล้ากินอาหารตามปกติเพราะกลัวอ้วน กลายเป็นว่าต้องใช้ชีวิตกับอาหารแบบเม็ดไปเลย บางคนแข็งแรงดีแต่กินเป็นกำๆ เสริมกับอาหารตามปกติ อย่างนี้ก็มากเกินไป
การใช้วิตามินหรืออาหารเสริมโดยทั่วไปแล้วมักใช้ กับผู้ที่ขาดสารอาหารจริงๆ ซึ่งอาจเกิดจากการเจ็บป่วย การกินอาหารได้น้อยกว่าปกติ เด็ก ผู้สูงอายุ หรือสตรีมีครรภ์ที่จำเป็นต้องได้สารอาหารเพิ่ม เป็นต้น ดังนั้นคนทั่วไปที่กินอาหารได้ครบ 5 หมู่ จึงไม่จำเป็นต้องใช้
วิตามินหรืออาหารเสริมไม่ว่าชนิดใดๆ ถ้าร่างกายได้รับมากเกินไปจะเกิดโทษได้ ซึ่งก็แล้วแต่ว่าจะเกิดพิษต่อระบบไหนของร่างกาย เช่น
วิตามินซี กินมากไปอาจทำให้ผิวหนังแห้ง เกิดโรคผิวหนัง ปัสสาวะเป็นกรดมากเกินไป
วิตามินเอ ได้รับมากไปอาจเกิดสมองบวม ผิวแห้ง ผมร่วง ปวดศีรษะ
วิตามินบี 6 กินมากไปอาจทำให้ปลายประสาทเสื่อม เกิดโรคเหน็บชา
วิตามินดี ได้มากไปจะทำให้แคลเซียมในเลือดสูง ตกตะกอนในไต ทำให้ไตพิการ หรือเกิดนิ่ว
ฯลฯ
ส่วนผู้ที่กินวิตามินหรืออาหารเสริมเพื่อผิวพรรณและความสวยงามซึ่งปัจจุบันนี้มีกระแสแรงขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจเสี่ยงต่อการแพ้หรือพิษจากการได้รับมากเกินไป นอกจากนั้นก็ยังต้องใช้เป็นเวลานานและต่อเนื่อง โอกาสเกิดพิษต่อร่างกายก็จะมากขึ้น
การใช้เครื่องสำอางหรือครีมบำรุงภายนอกจะปลอดภัยกว่ามาก และไม่ต้องสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ
สุขภาพเป็นสิ่งที่ต้องสร้างด้วยวิถีของการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ไม่ควรหวังพึ่งพาแต่วิตามินหรืออาหารเสริมเท่านั้น ให้ยึดหลักความจำเป็นพื้นฐานตามปัจจัยสี่ มีการกินอยู่อย่างถูกสุขอนามัย พยายามกินอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ โดยแต่ละมื้อให้มองดูอาหารบนโต๊ะว่ามีครบทั้งแป้ง น้ำตาล โปรตีนจากพืชหรือสัตว์ ไขมัน ผักผลไม้ แล้วหรือยัง
นอกจากอาหารแล้ว การดื่มน้ำสะอาดมากๆ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ทำจิตใจให้เบิกบานก็จะช่วยส่งเสริมสุขภาพได้ดี พยายามเดินสายกลาง ทุกอย่างต้องไม่มากไปหรือน้อยไป เมื่อปฏิบัติได้ตามนี้แล้ว เราก็จะมีสุขภาพที่ดีได้โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองเงินทอง และไม่ต้องใช้ชีวิตแบบเกาะกระแสให้เกิดความเสี่ยงต่อร่างกายโดยไม่จำเป็น
ควรระลึกอยู่เสมอว่า...
"สุขภาพดีนั้นต้องสร้างด้วยตนเอง ไม่ใช่ซื้อหามา"
นม... พระเอกหรือผู้ร้าย
เป็นที่ทราบกันดีว่า นมเป็นแหล่งของสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด เช่น แคลเซียม วิตามินบี ๒ วิตามินดี อีกทั้งเป็นแหล่งของโปรตีนคุณภาพดี จึงทำให้นมนั้นเป็นอาหารที่ถูกคัดเลือกให้บรรจุอยู่โภชนบัญญัติและธงโภชนาการ
กระทรวงสาธารณสุขแนะนำคนไทยดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย โดยเด็กที่กำลังเจริญเติบโตและวัยรุ่น ปริมาณที่พอเหมาะคือ ดื่มวันละ ๒-๓ แก้ว ส่วนผู้ใหญ่ดื่มวันละ ๑-๒ แก้ว และควรเป็นนมพร่องมันเนย
ข้อดีของนมและผลิตภัณฑ์นมนั้น นอกเหนือจากให้สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายแล้ว สามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามท้องตลาด ทำให้สะดวกต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะในสังคมเมืองทุกวันนี้ที่มีแต่ความเร่งรีบ อีกทั้งราคาไม่แพง เมื่อเทียบกับอาหารประเภทอื่นในยุคข้าวยากหมากแพงเช่นนี้
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้มีการกล่าวอ้างจากกลุ่มคนที่ต่อต้านการดื่มนม ว่านมเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ หลายชนิด เช่น โรคมะเร็ง โรคระบบทางเดินหายใจและภูมิแพ้ โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น ซึ่งสร้างความสับสนให้กับผู้บริโภค จนทำให้บางคนมีความคิดว่า จะเลิกดื่มนมกันไปเลย ดังนั้น เรามาตามล่าหาความจริงกันว่า “Is milk bad for you?” “นม” ไม่ดีต่อสุขภาพของคุณจริงหรือ
นมกับโรคมะเร็ง
มีการกล่าวอ้างว่านมทำให้เกิดมะเร็งในกลุ่มคนทางตะวันตก เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก เนื่องจากมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งทำการศึกษาพบว่าผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากมีความสัมพันธ์กับการดื่มนม อย่างไรก็ตาม นักวิจัยพบว่ากลุ่มผู้ป่วยมะเร็งมีการกินอาหารที่มีไขมันปริมาณ สูงรวมถึงผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์อื่นๆ ที่ติดมัน และตอนท้ายของรายงานนี้ยังสรุปอีกด้วยว่า ไม่ยืนยันว่านมทำให้เกิดมะเร็งต่อผู้บริโภคจำเป็นต้องศึกษาวิจัยเพิ่มเติมหลังจากนั้นมีงานวิจัยใหม่ออกมาหลายฉบับ ได้ข้อสรุปคือปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานยืนยัน ทั้งงานวิจัยทางด้านระบาดวิทยา และงานวิจัยในห้องปฏิบัติการ ว่านมเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่างๆ หากแต่ในทางตรงกันข้ามพบว่านมมีผลต่อการลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยสารอาหารที่เป็นพระเอกในการป้องกันคือ แคลเซียม
นอกจากนี้ เคซีน (casein) เวย์โปรตีน (whey) และโบไวน์ แล็กโทเฟอร์ริน (bovine lactoferrin) ก็มีส่วนช่วยป้องกันมะเร็ง โดยโบไวน์ แล็กโทเฟอร์ริน มีฤทธิ์กระตุ้นเซลล์ระบบภูมิคุ้มกัน (Natural killer cell) ให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น และสามารถกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งเกิดการตายแบบ Apoptosis ในเซลล์มะเร็งเต้านม เซลล์มะเร็งลำไส้ และเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร โดยแล็กโทเฟอร์รินสามารถควบคุมการแสดงออกของยีนที่ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ มีรายงานวิจัยเพิ่มเติมจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่นว่าแล็กโทเฟอร์รินสามารถกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ Caspase-1 และ สาร interleukin-18 (IL-18) ส่งผลสำคัญในการยับยั้งการเกิดโรคมะเร็ง และแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
นอกจากนี้ มีรายงานวิจัยพบว่าการใส่นมลงไปในชา สามารถช่วยเพิ่มฤทธิ์ยับยั้งการเกิดมะเร็งลำไส้และมะเร็งเต้านมในหนู
นมกับโรคหัวใจและหลอดเลือด
มีการกล่าวอ้างว่าการดื่มนมมีผลต่อระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และส่งผลทำให้เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ
ข้อเท็จจริงคือ ปัจจุบันยังไม่มีรายงานวิจัยทางระบาดวิทยาใดๆ ที่ยืนยันว่านมทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นจนผิดปกติและทำให้เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ
ในทางตรงกันข้ามกลับมีรายงานว่า นมและผลิตภัณฑ์นม ประเภทนมเปรี้ยวชนิดครีมและนมเปรี้ยวพร้อมดื่ม สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ซึ่งส่งผลให้ลดอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองตีบตันได้
นอกจากนี้ นมยังมีไขมันชนิดหนึ่งที่พบมากในเยื่อหุ้มเซลล์ ชื่อ Sphingomyelin รายงานว่าสารนี้สามารถช่วยเพิ่มระดับของคอเลสเตอรอลชนิดดีหรือเอชดีแอลคอเลสเตอรอล (HDL cholesterol) ได้แล้วช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดเลวหรือแอลดีแอลคอเลสเตอรอล (LDL cholesterol) ลงได้
ยังมีหลักฐานยืนยันอีกว่าหากให้อาสาสมัครที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ดื่มผงโกโก้ร่วมกับนม ทำให้ค่าลิพิดโพรไฟล์ของอาสาสมัครดีขึ้น โดยมีค่าเอชดีแอลที่สูงขึ้น และแอลดีแอลต่ำลงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับเครื่องดื่มผงโกโก้เพียงอย่างเดียว
นอกจากสารดังกล่าวแล้ว สารอาหารพระเอกที่พบมากอย่างแคลเซียมจากผลิตภัณฑ์นม ยังส่งผลดีมากในเรื่องของการลดน้ำหนักและการลดปริมาณไขมันในร่างกายได้เช่นกัน ซึ่งจะต่างจากแคลเซียมที่อยู่ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
นมกับโรคภูมิแพ้
มีการกล่าวอ้างที่ว่านมเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ หอบหืด ลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผล ท้องเสียเรื้อรัง
ข้อเท็จจริงคือ นมเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการแพ้ แต่อาการแพ้นมเกิดจาก อาการแพ้น้ำตาลแล็กโทสที่อยู่ในนม เนื่องจากร้อยละ ๘๐ ของคนเอเชียขาดเอนไซม์แล็กเทสที่ย่อยน้ำตาลแล็กโทส เมื่อดื่มนมเข้าไป จุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้จะนำน้ำตาลแล็กโทสไปใช้ เกิดการสร้างกรดและแก๊ส ทำให้เกิดอาการปวดท้อง เสียดท้อง แน่นท้อง และท้องเสียหลังจากดื่มนม ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับโรคภูมิแพ้ เนื่องจากการเกิดโรคภูมิแพ้เกี่ยวข้องกับเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการแพ้นม คือ โปรตีนที่อยู่ในนม มักพบเด็กทารกเนื่องจากทารกมีน้ำย่อยที่ยังไม่สมบูรณ์ อาจทำให้โปรตีนโมเลกุลใหญ่ของนมถูกดูดซึมไปได้ ก่อให้เกิดอาการ แพ้โปรตีนของนม เช่น เป็นผื่นคัน ท้องเดิน อาเจียน หรือหอบ จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมเด็กทารกควรดื่มนมแม่ดีที่สุด อาการแพ้โปรตีน จะเกิดขึ้นในเด็กทารกช่วง ๑-๒ ปีแรก เมื่อเด็กโตขึ้น ระบบน้ำย่อย จะเข้าสู่ภาวะสมบูรณ์ อาการเหล่านี้จะหายไปเมื่อเข้าสู่วัยเรียนและไม่ค่อยพบในวัยผู้ใหญ่
ส่วนคำกล่าวอ้างที่ว่าการดื่มนมทำให้เกิดการสร้างเมือก (Mucus) มากขึ้นที่ลำไส้และทางเดินหายใจ ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันในคนปกติ
สำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืด มีรายงานวิจัยกล่าวว่า ถ้าดื่มนมอาจจะทำให้เกิดการสร้างเมือกมากขึ้นได้ และมีรายงานวิจัยที่ตีพิมพ์ขัดแย้งกันเป็นจำนวนมาก จนยังหาข้อสรุปไม่ได้
อย่างไรก็ตาม สภาโรคหอบหืดแห่งชาติของออสเตรเลียรายงานว่า ปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันได้ว่าเมื่อผู้ป่วยโรคหอบหืดงดดื่มนมจะช่วยลดอาการหอบได้ อีกทั้งยืนยันว่านมไม่ได้ทำให้เกิดเมือกในระบบหายใจเพิ่มขึ้น
สำหรับสาเหตุที่ทำให้ผู้บริโภคบางกลุ่มเชื่อว่านมทำให้มีการผลิตเยื่อเมือกมากขึ้น National Dairy Council กล่าวว่าเกิดจากความรู้สึก (Sensory perceptions) ของผู้บริโภค คือเมื่อดื่มนมเข้าไปแล้วจะรู้สึกลื่น เหมือนมีอะไรมาเคลือบที่ลิ้น เพราะหลังจากดื่มนมเข้าไปแล้ว milk emulsion จะเข้าไปเคลือบลิ้นและภายในลำคอของเราชั่วคราวเท่านั้น เพียงแค่ดื่มน้ำเปล่าตามความรู้สึกนี้ก็จะหายไป ซึ่งพบว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกับปริมาณการสร้างเยื่อเมือกในร่างกายแต่อย่างใด
นอกจากโรคที่กล่าวมาแล้วยังมีการกล่าวอ้างที่ว่านมทำให้เกิดโรคอื่นๆ อีกเช่น โรคกระดูกพรุน สิวอักเสบ สมาธิสั้น กระตุ้นให้เด็กสาวเข้าสู่ภาวะวัยรุ่นเร็วขึ้น เนื่องจากได้รับฮอร์โมนที่อยู่ในนมวัวมากเกินไป ทั้งนี้เมื่อสืบหาข้อมูลจากงานวิจัยที่น่าเชือถือได้ ล้วนได้ข้อสรุปที่ว่าขาดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันคำกล่าวอ้างดังกล่าว
ทั้งนี้ การเกิดโรคในคน อาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญก็จริง แต่มีปัจจัยอื่นที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ได้แก่ พันธุกรรม เพศ อายุ สิ่งแวดล้อม รูปแบบการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคล ซึ่งการกล่าวหาว่านมเพียงอย่างเดียวเป็นตัวการที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
ผู้เขียนขอแนะนำว่า การดื่มนมปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกายของคนไทย ตามที่ในธงโภชนาการระบุไว้ จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อร่างกาย และไม่ควรดื่มมากเกินไป ควรมีการกินอาหารให้หลากหลายด้วย และถ้าจะให้ดีนั้นขอแนะนำให้เลือกชนิดของนมที่ดื่มด้วย
สำหรับผู้ที่ต้องควบคุมไขมันในร่างกายนั้นควรจะเลือกนมพร่องมันเนย (Low fat milk) หรือนมขาดมันเนย (Skim milk)
ส่วนคนปกติหากดื่มปริมาณที่ไม่มากเกินไปและมีการออกกำลังกายที่เหมาะสม สามารถเลือกดื่มชนิดใดก็ได้
กรณีของคนที่เพิ่งจะเริ่มหันมาดื่มนมให้สบายท้องคือ ขอให้ดื่มทีละน้อยก่อน แล้วค่อยเพิ่มปริมาณ ควรดื่มนมหลังอาหาร ที่สำคัญคือไม่ควรดื่มนมขณะท้องว่าง แต่ให้ดื่มหลังอาหาร หรือพร้อมกับอาหาร เช่น อาจกินขนมปังตอนเช้า พร้อมกับนม ๑ กล่อง โดยแบ่งดื่มทีละครึ่งกล่องก็ได้ เมื่อทำอย่างนี้บ่อยๆ ร่างกายจะเริ่มปรับตัวได้ สามารถลดอาการไม่สบายท้อง แน่นท้อง และท้องเสียได้
ถ้าทดลองวิธีนี้ข้างต้นแล้วยังมีอาการไม่สบายท้องอยู่ อาจเปลี่ยนไปกินนมเปรี้ยวชนิดครีม หรือนมเปรี้ยวพร้อมดื่มแทนได้ เพราะเชื้อจุลินทรีย์ที่ใส่ลงไป ทำหน้าที่ย่อยน้ำตาลแล็กโทส ที่อยู่ในนมแล้ว
ผู้ที่ปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือแพ้นมจริงๆ สามารถเลือกผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้ เช่น นมถั่วเหลือง ผักใบเขียว และปลาตัวเล็ก เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดแคลเซียม
สุดท้ายนี้อยากฝากถึงผู้บริโภคว่า ปัจจุบันเป็นยุคของโลกออนไลน์ ข้อมูลทุกอย่างสามารถสืบค้นได้จากอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าเราอยากรู้เรื่องอะไรเพียงแค่พิมพ์แล้วกดปุ่ม Enter ก็จะมีข้อมูลทุกอย่างขึ้นมาให้เลือกอ่านได้อย่างสบายใจ แต่ข้อเสียของโลกออนไลน์ก็คือ ข้อมูลที่ได้มีทั้งจริงและไม่จริง อีกทั้งยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาดูแลอย่างจริงจัง ปัญหาเกี่ยวกับการหลอกหลวงผู้บริโภคหรือนำเสนอข้อมูลให้ผู้บริโภคเข้าใจแบบผิดๆ ยังมีให้เห็นกันอยู่มาก ผู้บริโภคจึงต้องระวังและมีการไตร่ตรองข้อมูลที่รับมา โดยพิจารณาให้รอบคอบ
ทั้งนี้อาจนำหลักคำสอนของพระพุทธองค์ ใน “กาลามสูตร” ที่ท่านสอนไม่ให้เชื่อสิ่งต่างๆ อย่างงมงาย ๑๐ ประการ ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ดีมากและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน ดังคำกล่าวที่ว่า ศรัทธาต้องมาคู่กับปัญญาเสมอ โดยผู้เขียนขอยกความดีให้กับ รศ.ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ ซึ่งเป็นอาจารย์ของผู้เขียนเอง ที่ท่านมีส่วนช่วยให้เข้าใจหลักธรรมข้อนี้มากขึ้น
ดังนั้น หากผู้บริโภคจะเชื่อข้อมูลข่าวสารด้านอาหารและโภชนาการ ควรพิจารณาอย่างรอบคอบที่ต้นตอของที่มาว่าน่าเชื่อถือได้เพียงไร หรือถ้าไม่แน่ใจก็ให้ถามไปที่นักโภชนาการ หรือนักวิชาการ
ถ้าต้องการสืบค้นของมูลในเว็บไซต์ ขอแนะนำให้หาข้อมูลจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือได้ เช่น
- สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
- สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
- สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- เว็บไซต์ของต่างประเทศ ได้แก่ U.S. Food and Drug Administration, Food and Nutrition Service และ National Dairy Council
เอกสารอ้างอิง
1. รศ.ดร.ประไพศรี ศิริจักรวาล. ดื่มนมตอนท้องว่าง. หมอชาวบ้าน. เล่มที่ ๒๒๕ เดือน/ปี ๑๒/๒๕๔๐.
2. PARODI, P. W. 2012. Impact of cows’ milk estrogen on cancer risk. International Dairy Journal, 22, 3-14.
3. TSUDA, H., SEKINE, K., USHIDA, Y., KUHARA, T., TAKASUKA, N., IIGO, M., HAN, B. S. & MOORE, M. A. 2000. Milk and dairy products in cancer prevention: focus on bovine lactoferrin. Mutation Research/Reviews in Mutation Research, 462, 227-233.
4. WEISBURGER, J. H., RIVENSON, A., GARR, K. & ALIAGA, C. 1997. Tea, or tea and milk, inhibit mammary gland and colon carcinogenesis in rats. Cancer Letters, 114, 323-327.
เบาหวานกับการออกกำลังกาย
การออกกำลังกายมีส่วนช่วยเสริมในการบำบัดรักษาโรคเบาหวาน คือเป็น ๑ ใน ๓ ส่วนของการรักษา ได้แก่ การควบคุมอาหาร การรักษาด้วยยา และการออกกำลังกาย
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในผู้ป่วยเบาหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นต้องฉีดอินซูลิน ได้รับการวิจัยจนเป็นที่ยอมรับแล้วว่า สามารถช่วยเพิ่มการทำงานของอินซูลินที่มีอยู่ในร่างกายได้ ทำให้สามารถนำน้ำตาลในกระแสเลือดเข้าไปใช้งานในเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น ตามปกติ ผู้ป่วยเบาหวานมักมีระดับไขมันในเลือดสูง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ
ผู้ป่วยเบาหวานกับการออกกำลังกาย
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ ๑ เป็นเบาหวานที่ตับอ่อนไม่ผลิตอินซูลิน มักเกิดตั้งแต่อายุน้อยและต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน ดังนั้นถ้าขาดอินซูลินระดับน้ำตาลในเลือดจะสูง เมื่อออกกำลังกายจะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากขึ้น เกิดภาวะเป็นกรดจากการมีคีโตนในเลือดสูงซึ่งจะทำให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
ถ้าฉีดอินซูลินบริเวณหน้าขาหรือแขนที่มีการเคลื่อนไหวขณะออกกำลังกาย การดูดซึมอินซูลินจากใต้ผิวหนังจะเร็วขึ้น จึงเกิดภาวะน้ำตาลต่ำได้ หรือถ้าออกกำลังขณะที่อินซูลินออกฤทธิ์สูงสุด จะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ควรหลีกเลี่ยงการฉีดอินซูลินบริเวณที่ใช้อวัยวะนั้นๆ ในการออกกำลังกาย ไม่ควรออกกำลังกายเวลาอินซูลินออกฤทธิ์สูงสุด และควรตรวจระดับน้ำตาลก่อนและหลังการออกกำลังกาย
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ ๒ เกิดจากเซลล์ของร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน(ประสิทธิภาพของอินซูลินลดลงร่วมกับการหลั่งของอินซูลินน้อยลง) การออกกำลังกายทำให้ภาวะดื้อต่ออินซูลินลดลง (มีความไวต่ออินซูลินมากขึ้น)
การออกกำลังของผู้ป่วยเบาหวาน ต้องมีความระมัดระวังเพิ่มขึ้น เพราะผู้ป่วยอาจมีการสูญเสียความรู้สึกที่มือและเท้า จึงทำให้เกิดบาดแผลได้ง่ายโดยเฉพาะที่บริเวณเท้า ผู้ป่วยต้องหมั่นตรวจเท้าตนเองและสวมถุงเท้าทุกครั้ง รวมถึงการเลือกรองเท้าให้มีความพอดีกับเท้าและเหมาะสมกับชนิดกีฬา ดังนั้น การป้องกันการบาดเจ็บที่เกิดจากการออกกำลังกายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง
การบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นได้ขณะออกกำลังกาย
• การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อ
• ภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจ ในผู้ที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจผิดปกติ
• บาดเจ็บของเท้าโดยเฉพาะ ถ้ามีหลอดเลือดและเส้นประสาทที่มาเลี้ยงบริเวณเท้าผิดปกติ
• มีเลือดออกในลูกตาเพิ่มขึ้น
• มีการเสียเหงื่อ เสียน้ำ เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะของผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคไต
• ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หรือต่ำลงมากเกินไป
แนวทางออกกำลังกายอย่างปลอดภัยของผู้ป่วยเบาหวาน
• ควรตรวจร่างกายอย่างละเอียดจากแพทย์ เพื่อจัดโปรแกรมการออกกำลังกาย และให้คำแนะนำการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
• ควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับการรักษาทางยา และการฉีดอินซูลินจะต้องมีการปรับเปลี่ยนอย่างไรบ้าง
• ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไปก่อนการออกกำลังกาย
คือไม่เกิน ๒๕๐ มิลลิกรัม/เดซิลิตร (เบาหวานชนิด ๑) และไม่เกิน ๓๐๐ มิลลิกรัม/เดซิลิตร
(เบาหวานชนิดที่ ๒)
• เรียนรู้อาการ วิธีป้องกัน และแก้ไขภาวะน้ำตาลต่ำ เมื่อออกกำลังกาย
• ตรวจดูเท้า ก่อน/หลัง การออกกำลังกายทุกครั้ง
• ใส่รองเท้าที่เหมาะสมสำหรับการออกกำลังกาย
• ควรออกกำลังกายสถานที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
อาการของภาวะน้ำตาลต่ำ ได้แก่ วิงเวียน เหงื่อออก ตัวสั่นอ่อนเพลีย ตาพร่ามัว
วิธีแก้ไข หยุดพักและควรตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือด แต่ถ้าไม่สามารถตรวจเลือดได้ ควรให้ดื่มน้ำผลไม้ น้ำตาลก้อน ลูกอม หรือให้ดื่มน้ำเพิ่ม
วิธีป้องกัน
๑. ตรวจเลือด ก่อนและหลังการออกกำลังกาย
๒. เตรียมน้ำผลไม้ หรือพกลูกอม ที่กินได้ง่าย
๓. ถ้าออกกำลังกายสม่ำเสมอ ให้มีการฉีดอินซูลินลดลงประมาณร้อยละ หรือเพิ่มปริมาณอาหารและมีอาหารว่างก่อนออกกำลังกาย
ห้ามออกกำลังกรณีดังต่อไปนี้
๑. เบาหวานที่ยังควบคุมไม่ได้
๒. ความดันโลหิตขณะพักสูงเกิน ๒๐๐/๑๐๐ มม.ปรอท
๓. มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ยังควบคุมไม่ได้
๔. มีอาการเจ็บหน้าอก หรือโรคหัวใจขาดเลือดที่ยังควบคุมไม่ได้
เลือกชนิดการออกกำลังกาย
ผู้ที่เป็นเบาหวานสามารถออกกำลังได้เกือบทุกคน แต่ต้องเลือกการออกกำลังกายให้เหมาะสม โดยพิจารณาจาก อายุ โรคประจำตัว ความถนัด
• ผู้ที่มีปัญหาข้อเข่า ข้อเท้าหรือเท้าควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังที่มีแรงกระแทก เช่น การวิ่ง กระโดดเชือก ควรจะออกกำลังโดยการว่ายน้ำ เดินในน้ำ รำมวยจีน หรือทำกายบริหารในท่านั่งหรือยืน
• ผู้ที่เป็นปลายประสาทอักเสบ มีอาการชาเท้าไม่ควรที่จะวิ่งหรือกระโดด ควรจะออกกำลังกายโดยการขี่จักรยาน เพื่อเพิ่มระบบไหลเวียนโลหิตและกระตุ้นปลายประสาท
• ผู้ที่เบาหวานขึ้นตาให้หลีกเลี่ยงการออกกำลังที่ใช้แรงต้านมาก เช่น การยกน้ำหนัก หรือโยคะบางท่า
• ผู้ที่มีโรคหัวใจควรจะพบแพทย์ก่อนออกกำลังกาย ไม่ควรออกกำลังกายชนิดที่ออกแรงมาก เช่น การยกน้ำหนัก การวิ่งเร็ว
รูปแบบและกิจกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม
• ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง สัปดาห์ละ ๓-๕ ครั้ง ควรจะเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก คือทำต่อเนื่องครั้งละ ๒๐-๔๐ นาที
• ควรเริ่มการออกกำลังแบบเบาก่อน และเพิ่มเป็นปานกลาง เพื่อให้ร่างกายได้มีการปรับตัว ไม่แนะนำให้ออกกำลังกายหนักหรือในรูปแบบที่มีแรงต้านมากๆ
• ควรเน้นการออกกำลังแบบแอโรบิก คือมีการออกกำลังกายแบบเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ไม่มีแรงกระแทก หรือแรงกระแทกต่ำ เช่น การเดิน ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ รำมวยจีน โยคะ กายบริหาร
• ควรออกกำลังกายเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและระบบประสาทควบคู่ไปด้วยกัน ตัวอย่างกิจกรรม เช่น กายบริหารแบบมีแรงต้านต่ำ การออกแรงดึงยางยืดเนื่องจากขณะออกแรงสายยางมีปฏิกิริยาต้านกลับ (stress reflex) ส่งผลให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อพัฒนาไปพร้อมกัน
รูปแบบและกิจกรรมการออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม
• กิจกรรมแรงกระแทกและแรงต้านสูง เช่น กระโดดเชือก วิ่งเร็ว ก้าวขึ้น-ลงสเต็ป ยกน้ำหนัก
ขั้นตอนของการออกกำลังกายที่ถูกวิธี ประกอบด้วย ๓ ขั้นตอน ดังนี้
๑. ขั้นตอนการอบอุ่นร่างกาย ใช้เวลา ๕-๑๐ นาที
๒. ขั้นตอนการออกกำลังกาย ใช้เวลา ๑๐-๓๐ นาที
๓. ขั้นตอนการผ่อนคลาย ใช้เวลา ๕-๑๐ นาที
การยืดเหยียดกล้ามเนื้อจะรวมอยู่ในช่วงการอบอุ่นร่างกายและช่วงการผ่อนคลาย (หากกิจกรรมใช้เวลานานเกิน ๑ ชั่วโมง อาจเกิดการบาดเจ็บบริเวณเอ็นข้อต่อ และกล้ามเนื้อได้ง่ายควรหลีกเลี่ยง)
การยืดเหยียดกล้ามเนื้อมีความสำคัญมากในผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานจะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะข้อติดมากกว่าบุคลทั่วไป กล้ามเนื้อเอ็นข้อต่อขาดความยืดหยุ่น ดังนั้น ควรให้ความสำคัญในการฝึกยืดเหยียด (stretching) การฝึกยืดเหยียดที่ถูกวิธีควรปฏิบัติอย่างช้าๆ ไม่กระตุกกระชาก และให้ดีควรค้างไว้ในมุมที่ทำได้ประมาณ ๑๐ วินาที ควรยืดในทุกมัดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะมัดกล้ามเนื้อที่ใช้ออกกำลังกาย
นอกจากจะป้องกันข้อติดแล้วยังช่วยป้องกันการบาดเจ็บ และสลายกรดแล็กติกที่คั่งค้างอยู่บริเวณกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะไม่รู้สึกปวดเมื่อยภายหลังการออกกำลังกายหากมีการผ่อนคลาย (cool down) ที่ถูกวิธี
อย่างไรก็ดี การออกกำลังกายเพียงอย่างเดียวยังไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดของผู้ป่วยเบาหวาน
สิ่งสำคัญคือการรู้จักตนเอง การดูแลควบคุมตนเองด้านโภชนาการ การควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเป็นสิ่งสำคัญมาก
มะเร็งตับ
มะเร็งตับเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้ชายวัยกลางคนขึ้นไป ผู้ป่วยมักมีอาการอ่อนเพลีย และน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว เมื่อไปพบแพทย์ ก็มักจะตรวจพบว่าเป็นมะเร็งตับระยะท้ายและเสียชีวิตภายใน 6-12 เดือน ความจริงโรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ และพยาธิใบไม้ตับ ซึ่งเป็นโรคที่ป้องกันได้เป็นส่วนใหญ่
⇒ ชื่อภาษาไทย มะเร็งตับ มะเร็งเซลล์ตับ มะเร็งท่อน้ำดี
⇒ ชื่อภาษาอังกฤษ Cancer of liver, Hepatoma, Cholangiocarcinoma
⇒สาเหตุ
มะเร็งตับแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1. มะเร็งเซลล์ตับ (hepatoma หรือ hepatocellular carcinoma/HCC) หมายถึงมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ที่อยู่ในเนื้อตับ ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้เป็นส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 75-80 ของผู้ป่วยมะเร็งตับทั้งหมด) และพบได้ในทั่วทุกภาคของประเทศ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี ซึ่งติดต่อทางเลือด (เช่น การถ่ายเลือด การสัมผัสถูกเลือด การฉีดยา การสักตามตัว) ทางเพศสัมพันธ์ และการติดจากแม่ไปยังทารกในครรภ์ ทำให้ผู้รับเชื้อกลายเป็นพาหะ (มีเชื้อในตับโดยไม่มีอาการแสดง) หรือโรคตับอักเสบแบบเรื้อรัง ซึ่งบางส่วนเซลล์ตับจะถูกบ่อนทำลายจนกลายเป็นมะเร็งเซลล์ตับในที่สุด
ผู้ป่วยมะเร็งตับมักมีประวัติติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี หรือซีมาตั้งแต่เล็ก (มักพบว่าติดจากแม่ขณะอยู่ในครรภ์) เมื่อย่างเข้าวัยกลางคน (50-60 ปี) ก็กลายเป็นมะเร็งตับมะเร็งชนิดนี้ยังพบได้บ่อยในผู้ที่ดื่มเหล้าจัด และ ผู้ป่วยตับแข็งนอกจากนี้ การกินอาหารที่ปนเปื้อนสารอะฟลาท็อกซิน (aflatoxin) จากเชื้อราเป็นประจำ เช่น ถั่วลิสงบด พริกแห้ง ข้าวโพด หัวหอม กระเทียม ข้าวกล้อง องุ่นแห้ง ปลาตากแห้ง มันสำปะหลัง แหนม เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ เป็นต้น ยังเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งเซลล์ตับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นตัวเสริมให้เกิดมะเร็งชนิดนี้ใน ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี
2. มะเร็งท่อน้ำดี (cholangiocarcinoma/CCC)
หมายถึงมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ที่บุภายในท่อน้ำดี ส่วนที่อยู่ภายในตับ (biliary tree) พบได้บ่อยทางภาคอีสานและภาคเหนือ เกิดจากการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับแบบเรื้อรัง ผู้ป่วยจะติดเชื้อชนิดนี้โดยการกินปลาตามหนองบึง (เช่น ปลาแม่สะแด้ง ปลาตะเพียนทราย ปลาสร้อยนกเขา ปลาสูตร ปลากะมัง) แบบดิบๆ หรือสุกๆ ดิบๆ พยาธิใบไม้ตับที่อยู่ในปลาเหล่านี้ก็จะเข้าไปฝังตัวอยู่ในท่อน้ำดี หากปล่อยไว้ไม่กินยาฆ่าพยาธินานๆ เข้า เซลล์ท่อน้ำดีก็จะกลายพันธุ์เป็นมะเร็งในที่สุด
นอกจากนี้ ยังพบว่าการกินสารไนโตรซามีน (nitrosamine) ซึ่งเป็นสารพิษในอาหารพวกโปรตีนหมัก (เช่น ปลาร้า ปลาส้ม หมูส้ม แหนม) อาหารพวกเนื้อสัตว์ที่ผสมดินปะสิว (เช่น กุนเชียง ไส้กรอก เนื้อเค็ม ปลาเค็ม) และอาหารรมควัน (เช่น ปลารมควัน ไส้กรอกรมควัน) เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งชนิดนี้อีกด้วย
อาการ
มะเร็งตับ ระยะแรกจะไม่แสดงอาการใดๆ (ยกเว้นรายที่เป็นตับแข็งอยู่ก่อน ก็จะมีอาการของโรคตับแข็ง) เมื่อก้อนมะเร็งลุกลามมากขึ้น จึงเริ่มมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด จุกเสียดท้อง คล้ายอาการอาหารไม่ย่อย บางรายอาจมีอาการปวดหรือเสียวชายโครงขวาโดยไม่มีอาการอื่นๆ ชัดเจนก็ได้ อาการเหล่านี้มักแสดงอยู่เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน โดยผู้ป่วยอาจไม่ได้ใส่ใจ หรือคิดว่าเป็นอาการปวดยอกชายโครง หรืออาหารไม่ย่อย
เมื่อก้อนมะเร็งโตมากขึ้น ก็จะมีอาการอ่อนเพลียมากขึ้น รู้สึกแน่นอึดอัดที่บริเวณลิ้นปี่ทั้งวัน มีอาการปวดใต้ชายโครงขวา ซึ่งอาจปวดร้าวไปที่ไหล่ขวาหรือใต้สะบักด้านขวา ผู้ป่วยจะเบื่ออาหารมากขึ้น และน้ำหนักลดอย่างรวดเร็วจนคนใกล้ชิดรู้สึกผิดสังเกต
บางรายอาจมีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง ปัสสาวะ เหลืองเข้ม อาจคลำได้ก้อนที่ใต้ชายโครงขวา ท้องบวม หรือเท้าบวมทั้ง 2 ข้าง อาจมีไข้ต่ำๆ ร่วมด้วย
รายที่มีภาวะอุดกั้นของทางเดินน้ำดี (มักพบในโรคมะเร็งท่อน้ำดี) ผู้ป่วยจะมีอาการตาและตัวเหลืองจัด คันตามตัว อุจจาระสีซีด
รายที่มีภาวะตับแข็งระยะท้ายร่วมด้วย อาจมีอาการอาเจียนเป็นเลือด
การแยกโรค
ผู้ที่มีอาการอ่อนเพลีย และน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว อาจเกิดจากมะเร็งที่อวัยวะอื่น เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร (มีอาการปวดท้องคล้ายโรคกระเพาะอาหาร) มะเร็งลำไส้ใหญ่ (มีอาการท้องเดิน ท้องผูก หลังปวดท้องเรื้อรัง หรือถ่ายเป็นเลือด) มะเร็งปอด (มีอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก) เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากเบาหวาน (มีอาการกระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย) คอพอกเป็นพิษ (เหนื่อยง่าย ใจสั่น มือสั่น ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก คอพอก) วัณโรคปอด (ไข้และไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด) โรคเอดส์ (ไข้เรื้อรัง ท้องเดินเรื้อรัง)
อาการตาเหลือง ตัวเหลือง ท้องบวม เท้าบวม อาจเกิดจากโรคตับแข็ง ซึ่งผู้ป่วยมักมีประวัติดื่มเหล้าจัดมานาน และมักตรวจพบอาการฝ่ามือแดง และมีจุดแดงๆ ขึ้นที่หน้าอก
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งดังกล่าวข้างต้น ก็ควรจะไปพบแพทย์ เพื่อให้การดูแลรักษาอย่างถูกต้องแต่เนิ่นๆ
การวินิจฉัย
เบื้องต้นแพทย์จะสงสัยโรคนี้จากอาการแสดงของผู้ป่วย (อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ปวดชายโครงขวา) และตรวจพบว่าตับโตผิดปกติ และจะทำการตรวจพิเศษยืนยันว่าเป็นมะเร็งตับ โดยการตรวจเลือด (พบระดับของสารแอลฟาฟีโตโปรตีนในเลือดสูง) ตรวจพบก้อนมะเร็งตับจากการตรวจอัลตราซาวนด์ หรือถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ บางรายอาจจำเป็นต้องใช้เข็มเจาะเอาชิ้นเนื้อตับไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์
การดูแลตนเอง
ผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักลด ตาเหลือง ตัวเหลือง หรือคลำได้ก้อนในท้อง ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุ และให้การรักษาแต่เนิ่นๆ
ถ้าพบว่าเป็นมะเร็งตับจริง ก็ควรได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างจริงจัง
ข้อสำคัญ ทั้งผู้ป่วยและญาติจะต้องทำใจยอมรับความจริง และเตรียมตัวเตรียมใจเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของชีวิต ส่งเสริมกำลังใจผู้ป่วย และสนับสนุนผู้ป่วยให้สามารถดำเนินชีวิตในช่วงสุดท้ายให้มีคุณค่าและมีความสุขให้มากที่สุด
ทั้งผู้ป่วยและญาติจะต้องตั้งสติให้มั่น อย่าหลงเชื่อและลองวิธีรักษานอกคำแนะนำของแพทย์ที่ทำให้สิ้นเปลืองเงินทองมากๆ ทางที่ดีจะทำอะไรควรปรึกษาแพทย์หรือผู้รู้ที่สนิทและไว้ใจได้
การรักษา
ผู้ป่วยส่วนใหญ่เมื่อมีอาการชัดเจนแล้ว มักจะเป็นมะเร็งระยะท้าย ซึ่งไม่อาจเยียวยาให้หายได้ แพทย์จะให้การบำบัดรักษา เช่น ผ่าตัด ฉายรังสี เคมีบำบัด และวิธีอื่นๆ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและความทุกข์ทรมาน ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และยืดอายุให้ยืนยาวออกไปให้ได้มากที่สุด
ส่วนผู้ป่วยส่วนน้อยที่ตรวจพบมะเร็งตับระยะแรก ก็จะให้การรักษาด้วยการผ่าตัด ปลูกถ่ายตับ เคมีบำบัด และวิธีอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้หายขาด หรือมีชีวิตยืนยาวได้
ภาวะแทรกซ้อน
มะเร็งตับอาจแพร่กระจายไปทั่วท้อง และอวัยวะต่างๆ ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด หายใจลำบาก และอาการผิดปกติของอวัยวะที่มะเร็งแพร่ไปถึง เช่น ปวดกระดูกสันหลัง อาการผิดปกติทางสมอง เป็นต้น
ก้อนมะเร็งอาจมีการแตก ทำให้มีการตกเลือดในท้องเป็นอันตรายได้
ผู้ป่วยอาจมีอาการใจหวิวคล้ายเป็นลมจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เนื่องจากตับถูกทำลายจนไม่อาจผลิตน้ำตาลออกมาในกระแสเลือดได้
รายที่มีตับแข็งร่วมด้วย (โรคนี้มักพบคู่กับมะเร็งตับ) ระยะท้าย ก็มักจะมีอาการอาเจียนเป็นเลือด เลือดออกง่าย ภูมิต้านทานต่ำทำให้เป็นโรคติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่าย และท้ายที่สุดอาจเกิดภาวะตับวาย (ซึม เพ้อ ชัก หมดสติ)
การดำเนินโรค
ส่วนใหญ่ที่ตรวจพบเมื่อมีอาการน้ำหนักลดอย่างมากแล้ว มักจะเป็นมะเร็งตับระยะท้าย หากปล่อยไว้ไม่รักษา ก็มักจะเสียชีวิตภายใน 6-12 เดือนโดยเฉลี่ย แต่ถ้าได้รับการดูแลรักษา มีกำลังใจดี ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ดี ก็อาจมีชีวิตที่มีคุณภาพ และยืนยาวเป็นปีๆ
รายที่ตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ก็อาจหายขาด หรือมีชีวิตอยู่ได้ยืนยาว
ความชุก
โรคนี้พบมากเป็นอันดับ 1 ของโรคมะเร็งที่เกิดในผู้ชาย และพบมากเป็นอันดับ 4 ของผู้ป่วยมะเร็งรวมกันทั้ง 2 เพศ มักเกิดในคนอายุ 30-70 ปี พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2-3 เท่า
การป้องกัน
มะเร็งตับเป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันได้เป็นส่วนใหญ่ โดยการปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้
1. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบจากไวรัส บี ซึ่งมักจะฉีดให้ทารกตั้งแต่แรกเกิด หรือในผู้ที่ตรวจไม่พบการติดเชื้อชนิดนี้
2. ไม่ดื่มเหล้าจัด อาจทำให้ตับแข็ง และกลายเป็นมะเร็งตับได้
3. ไม่กินปลาน้ำจืดแบบดิบๆ หรือสุกๆ ดิบๆ
4. หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีสารอะฟลาท็อกซิน (อาหารที่มีเชื้อราปนเปื้อน) สารพิษชนิดนี้มีความทนต่อความร้อน แม้จะปรุงให้สุกก็ไม่ถูกทำลาย
5. หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีสารไนโตรซามีน หรือกินเมื่อปรุงให้สุก (สารนี้ถูกทำลายด้วยความร้อน)
6. ผู้ที่ยังนิยมกินปลาน้ำจืดดิบๆ ควรตรวจพยาธิใบไม้ตับ ถ้าพบว่าเป็นโรคนี้ ควรกินยาฆ่าพยาธิให้หายขาด
7. ผู้ที่เป็นพาหะหรือโรคตับอักเสบเรื้อรังจาก ไวรัสบีหรือซี ควรงดดื่มเหล้าโดยเด็ดขาด และควรให้แพทย์ตรวจเลือดและตรวจหา มะเร็งตับระยะแรกทุก 6 เดือน หากพบจะได้ให้การรักษาให้หายขาดได้
โรคร้ายสะสมจากการบริโภค
โรคร้ายสะสมจากการบริโภค รู้ทันป้องกันได้
โรคหลอดเลือดหัวใจโรคจากความอ้วนโรคหลอดเลือดสมอง
ไขมันผิดปกติเบาหวานความดันเลือดสูงโรคจากบุหรี่โรคหลอดเลือดหัวใจโรคจากความอ้วนโรคหลอดเลือดสมองไขมันผิดปกติิเบาหวานความดันเลือดสูงโรคจากบุหรี่โรคหลอดเลือดหัวใจโรคจากความอ้วนโรคหลอดเลือดสมองไขมันผิดปกติิเบาหวานความดันเลือดสูงโรคจากบุหรี่โรคหลอดเลือดหัวใจโรคจากความอ้วนโรคหลอดเลือดสมองไขมันผิดปกติิเบาหวานความดันเลือด
โรคหลอดเลือดหัวใจโรคจากความอ้วนโรคหลอดเลือดสมอง
ไขมันผิดปกติเบาหวานความดันเลือดสูงโรคจากบุหรี่โรคหลอดเลือดหัวใจโรคจากความอ้วนโรคหลอดเลือดสมองไขมันผิดปกติิเบาหวานความดันเลือดสูงโรคจากบุหรี่โรคหลอดเลือดหัวใจโรคจากความอ้วนโรคหลอดเลือดสมองไขมันผิดปกติิเบาหวานความดันเลือดสูงโรคจากบุหรี่โรคหลอดเลือดหัวใจโรคจากความอ้วนโรคหลอดเลือดสมองไขมันผิดปกติิเบาหวานความดันเลือด
โรคร้ายแห่งการสะสม คือโรคที่เกิดจากการสะสมของอาหารที่กินเกิน (เพราะกินมากไปจนร่างกายใช้ไม่หมด) ความเครียดเกิน สารพิษจากสิ่งแวดล้อมที่มากเกิน เป็นต้น ซึ่งเกินกว่าร่างกายขับถ่ายออกได้หมด ทำให้เกิดการสะสม เช่น สะสมในหลอดเลือดจน ตีบ จนตัน หรือสะสมในเซลล์ อวัยวะต่างๆ จนเกิดความผิดปกติของการทำงานของเซลล์ และอวัยวะต่างๆ
โรคร้ายแห่งการสะสม (พอกพูน) ได้แก่ เบาหวาน ความดันเลือดสูง ไขมันผิดปกติ โรคที่เกิดจากการสูบ บุหรี่ โรคที่เกิดจากความอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ (หลอดเลือดหัวใจตีบตัน ทำให้เกิดหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย) โรคหลอดเลือดสมอง (หลอดเลือด สมองตีบตัน ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต) และมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม เป็นต้น
องค์การอนามัยโรค รายงานว่า ในปี พ.ศ.๒๕๔๕ ประชากรโลกทั้งหมด ๖,๒๐๐ กว่าล้านคน จะเสียชีวิต ไปประมาณ ๕๗ ล้านคน สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ ๑ คือ โรคหัวใจขาดเลือด
ร้อยละ ๑๒.๖ เสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือด (โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน)
ร้อยละ ๑๒.๕ เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง
ร้อยละ ๙.๖ เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต)
ร้อยละ ๑.๗ เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน
สำหรับคนไทย จากรายงานของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าในปี พ.ศ.๒๕๔๒
ชายไทยเสียชีวิตจากโรคเอดส์ (ร้อยละ ๑๗) โรค หลอดเลือดสมอง (ร้อยละ ๙) โรคมะเร็งตับ (ร้อยละ ๗) โรคหัวใจขาดเลือด (ร้อยละ ๕) โรคเบาหวาน (ร้อยละ ๓)
หญิงไทยเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง (ร้อยละ ๑๕) โรคเบาหวาน (ร้อยละ ๘) โรคหัวใจขาดเลือด (ร้อยละ ๕) โรคมะเร็งตับ (ร้อยละ ๕)
จะเห็นได้ว่าโรคร้ายแห่งการสะสมอื่น เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันเลือดสูง โรคอ้วน ภาวะไขมันผิดปกติ การสูบบุหรี่ ไม่ได้อยู่ในสาเหตุการเสียชีวิตดังกล่าว แต่ปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง และมะเร็งหลายชนิด
โรคร้ายแห่งการสะสมได้ระบาดไปทั่วโลก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ ๑ ของคนไทยและประชากรโลกในปัจจุบัน
ทุกๆ ๔ นาทีครึ่ง จะมีคนไทยอย่างน้อย ๑ คน เสียชีวิตจากโรคร้ายแห่งการสะสม คือ โรคหัวใจ หลอดเลือด โรคความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน มะเร็งต่างๆ
ทุกๆ ๑ นาที จะมีประชากรโลกอย่างน้อย ๔๐ คน เสียชีวิตจากโรคร้ายแห่งการสะสมเช่นกัน
ข่าวร้ายคือโรคร้ายแห่งการสะสมจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในบ้านเรา จากรายงานของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แสดงไว้ว่าตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๓-๒๕๔๖
ผู้ป่วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นจาก ๗๒ คนต่อประชากรแสนคน เป็น ๑๐๑ คนต่อแสน
โรคเบาหวานเพิ่มขึ้นจาก ๑๕๗ คนต่อประชากรแสนคน เป็น ๓๘๐ คนต่อแสน
โรคความดันเลือดสูงเพิ่มขึ้นจาก ๒๕๙ คนต่อประชากรแสนคน เป็น ๓๘๙ คนต่อแสน
โรคหัวใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก ๒๙๑ คนต่อประชากรแสนคน เป็น ๔๕๑ คนต่อแสน
โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน และภาวะไขมันผิดปกติ ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ข่าวดี คือโรคร้ายแห่งการสะสมป้องกันได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทุกขภาพ คือการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม ไม่สมดุลกับร่างกายของแต่ละคน ให้เป็นพฤติกรรมสุขภาพ
โรคร้ายแห่งการสะสม (พอกพูน) ได้แก่ เบาหวาน ความดันเลือดสูง ไขมันผิดปกติ โรคที่เกิดจากการสูบ บุหรี่ โรคที่เกิดจากความอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ (หลอดเลือดหัวใจตีบตัน ทำให้เกิดหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย) โรคหลอดเลือดสมอง (หลอดเลือด สมองตีบตัน ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต) และมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม เป็นต้น
องค์การอนามัยโรค รายงานว่า ในปี พ.ศ.๒๕๔๕ ประชากรโลกทั้งหมด ๖,๒๐๐ กว่าล้านคน จะเสียชีวิต ไปประมาณ ๕๗ ล้านคน สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ ๑ คือ โรคหัวใจขาดเลือด
ร้อยละ ๑๒.๖ เสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือด (โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน)
ร้อยละ ๑๒.๕ เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง
ร้อยละ ๙.๖ เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต)
ร้อยละ ๑.๗ เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน
สำหรับคนไทย จากรายงานของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าในปี พ.ศ.๒๕๔๒
ชายไทยเสียชีวิตจากโรคเอดส์ (ร้อยละ ๑๗) โรค หลอดเลือดสมอง (ร้อยละ ๙) โรคมะเร็งตับ (ร้อยละ ๗) โรคหัวใจขาดเลือด (ร้อยละ ๕) โรคเบาหวาน (ร้อยละ ๓)
หญิงไทยเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง (ร้อยละ ๑๕) โรคเบาหวาน (ร้อยละ ๘) โรคหัวใจขาดเลือด (ร้อยละ ๕) โรคมะเร็งตับ (ร้อยละ ๕)
จะเห็นได้ว่าโรคร้ายแห่งการสะสมอื่น เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันเลือดสูง โรคอ้วน ภาวะไขมันผิดปกติ การสูบบุหรี่ ไม่ได้อยู่ในสาเหตุการเสียชีวิตดังกล่าว แต่ปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง และมะเร็งหลายชนิด
โรคร้ายแห่งการสะสมได้ระบาดไปทั่วโลก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ ๑ ของคนไทยและประชากรโลกในปัจจุบัน
ทุกๆ ๔ นาทีครึ่ง จะมีคนไทยอย่างน้อย ๑ คน เสียชีวิตจากโรคร้ายแห่งการสะสม คือ โรคหัวใจ หลอดเลือด โรคความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน มะเร็งต่างๆ
ทุกๆ ๑ นาที จะมีประชากรโลกอย่างน้อย ๔๐ คน เสียชีวิตจากโรคร้ายแห่งการสะสมเช่นกัน
ข่าวร้ายคือโรคร้ายแห่งการสะสมจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในบ้านเรา จากรายงานของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แสดงไว้ว่าตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๓-๒๕๔๖
ผู้ป่วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นจาก ๗๒ คนต่อประชากรแสนคน เป็น ๑๐๑ คนต่อแสน
โรคเบาหวานเพิ่มขึ้นจาก ๑๕๗ คนต่อประชากรแสนคน เป็น ๓๘๐ คนต่อแสน
โรคความดันเลือดสูงเพิ่มขึ้นจาก ๒๕๙ คนต่อประชากรแสนคน เป็น ๓๘๙ คนต่อแสน
โรคหัวใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก ๒๙๑ คนต่อประชากรแสนคน เป็น ๔๕๑ คนต่อแสน
โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน และภาวะไขมันผิดปกติ ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ข่าวดี คือโรคร้ายแห่งการสะสมป้องกันได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทุกขภาพ คือการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม ไม่สมดุลกับร่างกายของแต่ละคน ให้เป็นพฤติกรรมสุขภาพ
ทำไมเบาหวาน จึงเป็นโรคสะสม
เบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการกินน้ำตาล ของหวานมากเกินกว่าที่ตับอ่อนจะสร้างฮอร์โมนอินซูลินให้พอที่จะนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ให้หมดที่ตับและกล้ามเนื้อ ซึ่งประกอบกับขาดการใช้กล้ามเนื้อในการออกกำลังกายเป็นประจำ ทำให้ใช้น้ำตาลน้อยลง น้ำตาลในเลือดจะสูงโดยเฉพาะเวลาหลังกินอาหาร และน้ำตาลจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ระยะยาวเกิดเป็นโรคเบาหวานขึ้น
น้ำตาลที่สูงขึ้นในเลือด จะไปสะสมอยู่ตามหลอดเลือดอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะ "สมอง ใจ ไต ตา เท้า" ทำให้หลอดเลือดอักเสบ และเกิดตีบตันได้ง่าย
สมองขาดเลือดเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
หัวใจขาดเลือดเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวาย
ไตขาดเลือดจนเป็นไตวายเรื้อรัง
ตามัวจนอาจถึงกับตาบอด
เท้าขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้เป็นแผล ติดเชื้อง่าย บางครั้งเท้าเน่า จนอาจต้องตัดเท้า ตัดขา
ดังนั้น ผู้ใดที่อายุมากกว่า ๔๕ ปี อ้วนลงพุง น้ำหนัก เกิน หรือมีความดันเลือดสูง มีประวัติครอบครัวเป็น เบาหวาน และสงสัยว่าจะเป็นเบาหวาน เช่น มีอาการกินเก่ง น้ำหนักลด หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย (โดยเฉพาะ เวลากลางคืน) ตกขาวคันช่องคลอด (ในผู้หญิง) เป็นแผลแล้วหายยาก เป็นต้น ควรได้รับการตรวจน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหารอย่างน้อย ๘ ชั่วโมง
ถ้าน้ำตาลในเลือดมากกว่า ๑๒๖ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรก็เป็นเบาหวาน
แต่ถ้าน้ำตาลในเลือดมากกว่า ๑๑๐ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แสดงว่ากำลังจะเป็นเบาหวาน
ความดันเลือดสูงสะสมอะไร
ความดันเลือดสูงส่วนใหญ่ (มากกว่าร้อยละ ๙๐) มีสาเหตุจากการใช้ชีวิต
การใช้ชีวิตที่เกี่ยวกับความดันเลือดสูงก็คือการกินอาหาร (หวานจัด มันจัด เค็มจัด เนื้อสัตว์มากเกิน ผัก ผลไม้สดน้อยเกิน) ขาดการออกกำลังกาย ความอ้วน นอนกรนและหยุดหายใจขณะนอนหลับ หรือจากยา อาหาร เครื่องดื่ม (ยาแก้ปวดข้อ ปวดกระดูก โสม กาแฟ แอลกอฮอล์) และโรคต่างๆ (โรคไต โรคต่อมหมวดไต โรคหลอดเลือดผิดปกติ)
นอกจากนี้ ภาวะจิตใจที่เกี่ยวข้องกับความดันเลือด สูง เช่น ความมุ่งมั่นในการงานมากเกิน ทำงานแข่งขัน แข่งกับเวลามากเกินไป หรืออาฆาตพยาบาทคนอื่น เก็บกดความโกรธมากเกินไป
ความดันเลือดที่สูงขึ้น จะส่งผลต่อหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ คือสมอง ใจ ไต ตา คือ
หลอดเลือดสมองเพิ่มโอกาสเกิดหลอดเลือดสมองตีบ ตัน เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต เลือดออกในสมอง ปวดศีรษะมาก อาจหมดสติ หรือถึงแก่ชีวิตได้
หลอดเลือดหัวใจเพิ่มโอกาสเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบ ตัน หัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย
หลอดเลือดไตเพิ่มโอกาสเกิดไตวาย
หลอดเลือดที่ตาผิดปกติอาจมีเลือดออกในจอประสาทตา
คนไทยอายุมากกว่า ๔๕ ปีขึ้นไป ควรได้รับการวัดความดันเลือดอย่างน้อยปีละครั้ง เมื่อพบว่าความดันเลือดตัวบนสูงกว่า ๑๔๐ มิลลิเมตรปรอท หรือความดันเลือดตัวล่างสูงกว่า ๙๐ มิลลิเมตรปรอท อย่างน้อย ๒-๓ ครั้ง ติดต่อกันอย่างน้อย ๒ สัปดาห์ขึ้นไป แสดงว่าเป็นโรคความดันเลือดสูง ควรได้รับการดูแลรักษาต่อไป ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ จนเกิดโรคแทรกซ้อนที่อันตรายตามมา
ไขมันผิดปกติสะสมไขมันคอเลสเทอรอล ? ไขมันที่เกี่ยวกับความผิดปกติโรคหัวใจและหลอดเลือด คือ ไขมันไม่ดี (low density lipoprotein cholesterol : LDL) และไขมันที่ดี (high density lipoprotein cholesterol: HDL)
ไขมันไม่ดี (LDL) ได้จากอาหารมันๆ ที่กินเข้าไป และสร้างจากตับมากเกินไป จะรวมกับสารอนุมูลอิสระ (ของเสียที่ร่างกายสร้างขึ้นมา) จนสะสมอยู่ที่หลอดเลือด ตามอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย และเปลี่ยนเป็นไขมันไปพอกที่พุง ทำให้เกิดอ้วนลงพุงตามมา
ไขมันดี (HDL) ทำหน้าที่ขนไขมันไม่ดีส่วนเกินไป ทิ้งที่ตับ น้ำดี ขับออกจากร่างกายทางอุจจาระ (เหมือน รถขนขยะคอเลสเทอรอลที่มากเกินไปทิ้ง)
ถ้าปริมาณไขมันดี ไม่สามารถขนไขมันไม่ดีไปทิ้งได้หมด ก็จะเกิดการสะสมไขมันไม่ดีในหลอดเลือดและที่พุง
ถ้าสะสมที่หลอดเลือดสมอง จนตีบ ตัน จะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
ถ้าสะสมที่หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ ตัน จะเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย
ถ้าสะสมที่หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไต ทำให้ไตเสื่อม ไตวาย และความดันเลือดสูง
คนไทยอายุมากกว่า ๔๕ ปีขึ้นไป มีภาวะไขมันสูง คือระดับคอเลสเทอรอลในเลือดสูงกว่า ๒๔๐ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือกินยาลดไขมัน อยู่ร้อยละ ๑๕.๘-๓๒.๘ ผู้หญิงมีภาวะไขมันสูงกว่าผู้ชาย
กลุ่มอายุที่เป็นภาวะไขมันสูงมากที่สุด คือผู้หญิง กลุ่มอายุมา ๖๐-๗๙ ปี (ร้อยละ ๓๒) และผู้ชายกลุ่มอายุ ๔๕-๖๙ ปี (ร้อยละ ๒๐)
บุหรี่ สะสมสารพิษ
สารต่างๆ ในบุหรี่มีอยู่พันกว่าชนิด แต่ที่มีผลสำคัญ ต่อหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง ได้แก่ สารนิโคติน ที่สะสมในร่างกายจะกระตุ้นสมองสั่งให้หัวใจบีบแรงขึ้น เต้นเร็วขึ้น และความดันเลือดสูงขึ้น
ที่สำคัญคือทำให้หลอดเลือดหัวใจและสมองหดตัวแคบลง หรือการสะสมสารคาร์บอนมอนอกไซด์จากบุหรี่ จะไปแทนที่ออกซิเจนในอากาศที่หายใจเข้าไป ทำให้หัวใจและสมองขาดออกซิเจน ขาดพลังงานหรือสะสมสารอนุมูลอิสระ
สารพิษในบุหรี่ทำให้เกล็ดเลือดเกาะตัวกัน และเลือดแข็งตัวอุดตันหลอดเลือดง่ายขึ้น มากขึ้น
ถ้าเกิดที่หลอดเลือดสมอง ก็เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
ถ้าเกิดที่หลอดเลือดหัวใจ ก็เกิดหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย
นอกจากนี้สารพิษต่างๆ ของบุหรี่ที่สะสมในหลอดลม หลอดอาหาร ปอด และอวัยวะอื่นๆ ทำให้เกิดโรคถุงลมปอดโป่งพอง โรคมะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหาร เป็นต้น ผู้ที่ใกล้ชิดคนที่สูบบุหรี่และได้รับควันบุหรี่เป็นประจำ ร่างกายจะสะสมสารพิษ และเพิ่มโอกาสเสี่ยงเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ตัน กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือเป็นมะเร็งได้
ตัวอย่างผู้ป่วยที่พบคือสามีสูบบุหรี่ ภรรยาซึ่งไม่ได้สูบบุหรี่เอง แต่กลับเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือภรรยาสูบบุหรี่ สามีที่ไม่ได้สูบบุหรี่เป็นมะเร็งปอด เป็นต้น
แม้แต่การสูดหายใจมลพิษในอากาศสารแขวน ลอยขนาดเล็กมากๆ ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าสะสมเป็น เวลานาน ก็เป็นเหตุปัจจัยเพิ่มโอกาสให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (หัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต) และเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวด้วย
เมื่อสารพิษเข้าสู่ร่างกาย ภูมิคุ้มกันสิ่งแปลกปลอม จะเก็บกินสารเหล่านี้ และพยายามกำจัด ขับออกทางตับ ไต ทางอุจจาระ ปัสสาวะ ลมหายใจ ผิวหนัง เป็นต้น แต่ถ้าสารพิษหรือของเสียมากเกินกว่าที่ร่างกายจะขับออก ขจัดออกได้หมด และได้ทัน ประกอบกับมีเหตุปัจจัยให้ภูมิคุ้มกันสิ่งแปลกปลอมในร่างกายเราอ่อนแอลง ทำงานขับของเสียได้น้อยลง (เช่น ความเครียด ยากดภูมิคุ้มกัน) สารพิษของเสียเหล่านี้ก็จะสะสมตามอวัยวะต่างๆ จนการทำงานผิดปกติไป หรือเซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงจนกลายพันธ์เป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด
บุหรี่ ไม่ว่าสูบเองหรือสูดดมจากคนใกล้ชิดสูบ การหายใจมลพิษในอากาศเป็นเวลานาน จะสะสม สารพิษต่างๆ ในร่างกาย จนเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งได้
อ้วน สะสมน้ำหนักแล้ว เป็นอย่างไร
ความอ้วนเกิดจากการไม่สมดุลของการกินอาหารและการออกกำลังกาย ผู้ที่กินอาหารที่ให้พลังงานมากกว่าการใช้พลังงานจากการออกกำลังกาย หรือกิจกรรมทางกาย ในชีวิตประจำวัน (กินแล้วใช้ไม่หมด) น้ำหนักจะเพิ่มขึ้น
อาหารที่ทำให้อ้วน ได้แก่ อาหารพวกไขมัน แป้ง น้ำตาล ของหวาน ผลไม้ แอลกอ-ฮอล์ อาหารที่ร่างกายใช้ไม่หมดจะสะสมที่ส่วนต่างๆ โดยเฉพาะที่พุง ทำให้รอบเอวใหญ่ขึ้น ควบคู่ไปกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น
การสะสมน้ำหนักของคนอ้วน นอกจากทำให้เหนื่อยง่ายขึ้น ทำงานไม่กระฉับ-กระเฉงแล้ว ยังเพิ่มโอกาสที่จะเกิดโรคความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน ไขมันผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง และมะเร็งบางชนิด
ความอ้วนเกิดจากการสะสมอาหารที่กินมากเกินกว่าร่างกายจะใช้หมด ทำให้เกิดโรคแห่งการสะสม อย่างอื่นๆ ตามมาได้
ชายไทยอายุมากกว่า ๑๕ ปีขึ้นไป อ้วนถึงร้อยละ ๒๒.๕ มีเส้นรอบเอวที่เกินมาตรฐาน ๙๐ เซนติเมตร พบร้อยละ ๑๕
ส่วนหญิงไทยอ้วนร้อยละ ๓๔.๔ เส้นรอบเอวที่เกินมาตรฐาน ๘๐ เซนติเมตร
พบร้อยละ ๓๖ ประชากรชายหญิงในเขตกรุงเทพฯ และในเขตเทศบาลจะอ้วนมากกว่าในเขตอื่นๆ
สะสมอะไรจึงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
ไขมันในอาหาร เครื่องดื่ม ที่กินเข้าไปจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันไม่ดีทำให้ระดับไขมันดังกล่าวสูงขึ้นในเลือดมากจนล้นเข้าไปเกาะอยู่ตามหลอดเลือด เมื่อไขมันรวมกับสารอนุมูลอิสระซึ่งเป็นของเสียที่เกิดจากการทำงานของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ทำให้เกิดไขมันไม่ดีที่อันตรายมากขึ้น ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวถูกดึงมาสะสมในหลอดเลือด เพื่อเก็บกินไขมันและสารอนุมูลอิสระเหล่านี้ จะเกิดการอักเสบขึ้นในหลอดเลือด ถ้ามีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เช่น ผู้ป่วยเบา-หวาน น้ำตาลจะสะสมและทำให้การอักเสบนี้จะลุกลามได้มากขึ้น ถ้ามีแรงกระแทกจากความดันเลือดที่สูงผสมด้วยแล้ว ทำให้หลอดเลือดที่อักเสบเกิดปริแตกเป็นแผล เกล็ดเลือดและเม็ดเลือดจะรวมตัวกันเป็นก้อนเลือดอุดตันหลอดเลือด
ยิ่งถ้าสูบบุหรี่ด้วย สารนิโคตินที่อยู่ในบุหรี่จะสะสม ในหลอดเลือดทำให้เลือดเกาะกันเป็นก้อนเลือดใหญ่ขึ้นจนอาจเกิดหลอดเลือดตัน ผู้ป่วยจะเจ็บแน่นหน้าอกอย่างมาก เหงื่อแตก ใจสั่น บางคนอาจถึงกับหมดสติ ถ้าไม่มีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจภายใน ๖ ชั่วโมง จะจะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย บางครั้งเกิดการเต้นหัวใจผิดจังหวะอย่างรุนแรงจนเสียชีวิตได้
คนไทยตายด้วยโรคหัวใจ ๑๗,๐๐๐ กว่าคน หรือประมาณ ๒ คนต่อชั่วโมง
จังหวัดที่มีคนตายด้วยโรคหัวใจมากที่สุด คือ กรุงเทพฯ ๓,๐๐๐ คนต่อปี
ทุกๆ ครึ่งชั่วโมงจะมีคนไทยอย่างน้อย ๑ คน ตายจากโรคหัวใจ
ทุกๆ วัน จะมีคนกรุงเทพฯ อย่างน้อย ๘ คน ตายจากโรคหัวใจ
โรคหัวใจที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุดคือ โรคหลอดเลือดหัวใจ
อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นโรคร้ายแห่งการสะสมได้อย่างไร
โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคหลอดเลือดสมองตีบ มีการเกิดโรคที่คล้ายกับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ดังนั้น ภาวะสะสมที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ก็ทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตได้เหมือนกัน เช่น ไขมันไม่ดี สารอนุมูลอิสระที่เพิ่มขึ้นหรือขาดสารขจัดอนุมูลอิสระจากผัก ผลไม้ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจากเบาหวาน สูบบุหรี่ และความดันเลือดสูง
นอกจากนี้ ภาวะการเต้นหัวใจห้องบนผิดจังหวะอย่างรุนแรง และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวขึ้น ก็ทำให้เพิ่มโอกาสการเกิดก้อนเลือดที่หัวใจหลุดไปอุดตันหลอดเลือดสมอง ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้
ความดันเลือดสูง นอกจากเพิ่มโอกาสเกิดหลอดเลือดสมองอุดตันแล้ว ยังทำให้เกิดหลอดเลือดสมองแตก เลือดออกในสมองได้ บางครั้งจำเป็นต้องผ่าตัดสมองฉุกเฉิน บางรายถึงกับเสียชีวิต
คนไทยตายด้วยโรคหลอดเลือดสมอง ๑๕,๐๐๐ กว่าคน หรือประมาณ ๑ คนกว่าๆ ต่อชั่วโมง
จังหวัดที่มีคนตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองมากที่สุดคือ กรุงเทพฯ ซึ่งครองแชมป์ตลอดกาลคือ ๒,๒๐๐ กว่าคนต่อปี
โรคหลอดเลือดสมองที่คนไทยเป็นส่วนใหญ่เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต (ร้อยละ ๗๐) ส่วนอีกร้อยละ ๓๐ เกิดจากหลอดเลือดสมองแตก ทำให้เลือดออกในสมอง
โรคร้ายแห่งการสะสมมาเป็นกลุ่ม
ส่วนใหญ่อาจเริ่มด้วยโรคใดโรคหนึ่งก่อนและจะมีโรคที่ ๒, ๓ หรือ ๔ ตามมาก็ได้ เช่น เริ่มด้วยน้ำหนักเกิน อ้วน ตามด้วยความดันเลือดสูง ต่อมาเป็นเบาหวาน และเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดสมองตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือบางคนอาจเป็นเบาหวาน ความดันเลือดสูง อ้วน แล้วต่อมาก็เกิดมะเร็งเต้านมตามมา เป็นต้น
จากการติดตามศึกษาสาเหตุการตายของผู้ป่วยเบาหวานที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จำนวน ๒๐๐ กว่ารายเป็นเวลาเฉลี่ย ๔ ปีเศษ พบว่าสาเหตุการตายอันดับ ๑ คือการติดเชื้อในกระแสเลือด รองลงมาคือโรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวายระยะสุดท้าย และมะเร็ง ตามลำดับ
โรคร้ายแห่งการสะสมเป็นโรคที่ระบาดทั่วโลกตามกระแสวัตถุนิยม บริโภคนิยม ทำให้เกิดการ บริโภคอาหาร เครื่องดื่ม เกินจนร่างกายใช้ไม่หมด (ขาดการออกกำลังกาย) ขับออกจากร่างกายไม่ทัน และเกิดโรคร้ายในที่สุด
เบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการกินน้ำตาล ของหวานมากเกินกว่าที่ตับอ่อนจะสร้างฮอร์โมนอินซูลินให้พอที่จะนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ให้หมดที่ตับและกล้ามเนื้อ ซึ่งประกอบกับขาดการใช้กล้ามเนื้อในการออกกำลังกายเป็นประจำ ทำให้ใช้น้ำตาลน้อยลง น้ำตาลในเลือดจะสูงโดยเฉพาะเวลาหลังกินอาหาร และน้ำตาลจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ระยะยาวเกิดเป็นโรคเบาหวานขึ้น
น้ำตาลที่สูงขึ้นในเลือด จะไปสะสมอยู่ตามหลอดเลือดอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะ "สมอง ใจ ไต ตา เท้า" ทำให้หลอดเลือดอักเสบ และเกิดตีบตันได้ง่าย
สมองขาดเลือดเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
หัวใจขาดเลือดเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวาย
ไตขาดเลือดจนเป็นไตวายเรื้อรัง
ตามัวจนอาจถึงกับตาบอด
เท้าขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้เป็นแผล ติดเชื้อง่าย บางครั้งเท้าเน่า จนอาจต้องตัดเท้า ตัดขา
ดังนั้น ผู้ใดที่อายุมากกว่า ๔๕ ปี อ้วนลงพุง น้ำหนัก เกิน หรือมีความดันเลือดสูง มีประวัติครอบครัวเป็น เบาหวาน และสงสัยว่าจะเป็นเบาหวาน เช่น มีอาการกินเก่ง น้ำหนักลด หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย (โดยเฉพาะ เวลากลางคืน) ตกขาวคันช่องคลอด (ในผู้หญิง) เป็นแผลแล้วหายยาก เป็นต้น ควรได้รับการตรวจน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหารอย่างน้อย ๘ ชั่วโมง
ถ้าน้ำตาลในเลือดมากกว่า ๑๒๖ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรก็เป็นเบาหวาน
แต่ถ้าน้ำตาลในเลือดมากกว่า ๑๑๐ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แสดงว่ากำลังจะเป็นเบาหวาน
ความดันเลือดสูงสะสมอะไร
ความดันเลือดสูงส่วนใหญ่ (มากกว่าร้อยละ ๙๐) มีสาเหตุจากการใช้ชีวิต
การใช้ชีวิตที่เกี่ยวกับความดันเลือดสูงก็คือการกินอาหาร (หวานจัด มันจัด เค็มจัด เนื้อสัตว์มากเกิน ผัก ผลไม้สดน้อยเกิน) ขาดการออกกำลังกาย ความอ้วน นอนกรนและหยุดหายใจขณะนอนหลับ หรือจากยา อาหาร เครื่องดื่ม (ยาแก้ปวดข้อ ปวดกระดูก โสม กาแฟ แอลกอฮอล์) และโรคต่างๆ (โรคไต โรคต่อมหมวดไต โรคหลอดเลือดผิดปกติ)
นอกจากนี้ ภาวะจิตใจที่เกี่ยวข้องกับความดันเลือด สูง เช่น ความมุ่งมั่นในการงานมากเกิน ทำงานแข่งขัน แข่งกับเวลามากเกินไป หรืออาฆาตพยาบาทคนอื่น เก็บกดความโกรธมากเกินไป
ความดันเลือดที่สูงขึ้น จะส่งผลต่อหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ คือสมอง ใจ ไต ตา คือ
หลอดเลือดสมองเพิ่มโอกาสเกิดหลอดเลือดสมองตีบ ตัน เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต เลือดออกในสมอง ปวดศีรษะมาก อาจหมดสติ หรือถึงแก่ชีวิตได้
หลอดเลือดหัวใจเพิ่มโอกาสเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบ ตัน หัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย
หลอดเลือดไตเพิ่มโอกาสเกิดไตวาย
หลอดเลือดที่ตาผิดปกติอาจมีเลือดออกในจอประสาทตา
คนไทยอายุมากกว่า ๔๕ ปีขึ้นไป ควรได้รับการวัดความดันเลือดอย่างน้อยปีละครั้ง เมื่อพบว่าความดันเลือดตัวบนสูงกว่า ๑๔๐ มิลลิเมตรปรอท หรือความดันเลือดตัวล่างสูงกว่า ๙๐ มิลลิเมตรปรอท อย่างน้อย ๒-๓ ครั้ง ติดต่อกันอย่างน้อย ๒ สัปดาห์ขึ้นไป แสดงว่าเป็นโรคความดันเลือดสูง ควรได้รับการดูแลรักษาต่อไป ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ จนเกิดโรคแทรกซ้อนที่อันตรายตามมา
ไขมันผิดปกติสะสมไขมันคอเลสเทอรอล ? ไขมันที่เกี่ยวกับความผิดปกติโรคหัวใจและหลอดเลือด คือ ไขมันไม่ดี (low density lipoprotein cholesterol : LDL) และไขมันที่ดี (high density lipoprotein cholesterol: HDL)
ไขมันไม่ดี (LDL) ได้จากอาหารมันๆ ที่กินเข้าไป และสร้างจากตับมากเกินไป จะรวมกับสารอนุมูลอิสระ (ของเสียที่ร่างกายสร้างขึ้นมา) จนสะสมอยู่ที่หลอดเลือด ตามอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย และเปลี่ยนเป็นไขมันไปพอกที่พุง ทำให้เกิดอ้วนลงพุงตามมา
ไขมันดี (HDL) ทำหน้าที่ขนไขมันไม่ดีส่วนเกินไป ทิ้งที่ตับ น้ำดี ขับออกจากร่างกายทางอุจจาระ (เหมือน รถขนขยะคอเลสเทอรอลที่มากเกินไปทิ้ง)
ถ้าปริมาณไขมันดี ไม่สามารถขนไขมันไม่ดีไปทิ้งได้หมด ก็จะเกิดการสะสมไขมันไม่ดีในหลอดเลือดและที่พุง
ถ้าสะสมที่หลอดเลือดสมอง จนตีบ ตัน จะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
ถ้าสะสมที่หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ ตัน จะเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย
ถ้าสะสมที่หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไต ทำให้ไตเสื่อม ไตวาย และความดันเลือดสูง
คนไทยอายุมากกว่า ๔๕ ปีขึ้นไป มีภาวะไขมันสูง คือระดับคอเลสเทอรอลในเลือดสูงกว่า ๒๔๐ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือกินยาลดไขมัน อยู่ร้อยละ ๑๕.๘-๓๒.๘ ผู้หญิงมีภาวะไขมันสูงกว่าผู้ชาย
กลุ่มอายุที่เป็นภาวะไขมันสูงมากที่สุด คือผู้หญิง กลุ่มอายุมา ๖๐-๗๙ ปี (ร้อยละ ๓๒) และผู้ชายกลุ่มอายุ ๔๕-๖๙ ปี (ร้อยละ ๒๐)
บุหรี่ สะสมสารพิษ
สารต่างๆ ในบุหรี่มีอยู่พันกว่าชนิด แต่ที่มีผลสำคัญ ต่อหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง ได้แก่ สารนิโคติน ที่สะสมในร่างกายจะกระตุ้นสมองสั่งให้หัวใจบีบแรงขึ้น เต้นเร็วขึ้น และความดันเลือดสูงขึ้น
ที่สำคัญคือทำให้หลอดเลือดหัวใจและสมองหดตัวแคบลง หรือการสะสมสารคาร์บอนมอนอกไซด์จากบุหรี่ จะไปแทนที่ออกซิเจนในอากาศที่หายใจเข้าไป ทำให้หัวใจและสมองขาดออกซิเจน ขาดพลังงานหรือสะสมสารอนุมูลอิสระ
สารพิษในบุหรี่ทำให้เกล็ดเลือดเกาะตัวกัน และเลือดแข็งตัวอุดตันหลอดเลือดง่ายขึ้น มากขึ้น
ถ้าเกิดที่หลอดเลือดสมอง ก็เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
ถ้าเกิดที่หลอดเลือดหัวใจ ก็เกิดหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย
นอกจากนี้สารพิษต่างๆ ของบุหรี่ที่สะสมในหลอดลม หลอดอาหาร ปอด และอวัยวะอื่นๆ ทำให้เกิดโรคถุงลมปอดโป่งพอง โรคมะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหาร เป็นต้น ผู้ที่ใกล้ชิดคนที่สูบบุหรี่และได้รับควันบุหรี่เป็นประจำ ร่างกายจะสะสมสารพิษ และเพิ่มโอกาสเสี่ยงเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ตัน กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือเป็นมะเร็งได้
ตัวอย่างผู้ป่วยที่พบคือสามีสูบบุหรี่ ภรรยาซึ่งไม่ได้สูบบุหรี่เอง แต่กลับเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือภรรยาสูบบุหรี่ สามีที่ไม่ได้สูบบุหรี่เป็นมะเร็งปอด เป็นต้น
แม้แต่การสูดหายใจมลพิษในอากาศสารแขวน ลอยขนาดเล็กมากๆ ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าสะสมเป็น เวลานาน ก็เป็นเหตุปัจจัยเพิ่มโอกาสให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (หัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต) และเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวด้วย
เมื่อสารพิษเข้าสู่ร่างกาย ภูมิคุ้มกันสิ่งแปลกปลอม จะเก็บกินสารเหล่านี้ และพยายามกำจัด ขับออกทางตับ ไต ทางอุจจาระ ปัสสาวะ ลมหายใจ ผิวหนัง เป็นต้น แต่ถ้าสารพิษหรือของเสียมากเกินกว่าที่ร่างกายจะขับออก ขจัดออกได้หมด และได้ทัน ประกอบกับมีเหตุปัจจัยให้ภูมิคุ้มกันสิ่งแปลกปลอมในร่างกายเราอ่อนแอลง ทำงานขับของเสียได้น้อยลง (เช่น ความเครียด ยากดภูมิคุ้มกัน) สารพิษของเสียเหล่านี้ก็จะสะสมตามอวัยวะต่างๆ จนการทำงานผิดปกติไป หรือเซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงจนกลายพันธ์เป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด
บุหรี่ ไม่ว่าสูบเองหรือสูดดมจากคนใกล้ชิดสูบ การหายใจมลพิษในอากาศเป็นเวลานาน จะสะสม สารพิษต่างๆ ในร่างกาย จนเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งได้
อ้วน สะสมน้ำหนักแล้ว เป็นอย่างไร
ความอ้วนเกิดจากการไม่สมดุลของการกินอาหารและการออกกำลังกาย ผู้ที่กินอาหารที่ให้พลังงานมากกว่าการใช้พลังงานจากการออกกำลังกาย หรือกิจกรรมทางกาย ในชีวิตประจำวัน (กินแล้วใช้ไม่หมด) น้ำหนักจะเพิ่มขึ้น
อาหารที่ทำให้อ้วน ได้แก่ อาหารพวกไขมัน แป้ง น้ำตาล ของหวาน ผลไม้ แอลกอ-ฮอล์ อาหารที่ร่างกายใช้ไม่หมดจะสะสมที่ส่วนต่างๆ โดยเฉพาะที่พุง ทำให้รอบเอวใหญ่ขึ้น ควบคู่ไปกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น
การสะสมน้ำหนักของคนอ้วน นอกจากทำให้เหนื่อยง่ายขึ้น ทำงานไม่กระฉับ-กระเฉงแล้ว ยังเพิ่มโอกาสที่จะเกิดโรคความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน ไขมันผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง และมะเร็งบางชนิด
ความอ้วนเกิดจากการสะสมอาหารที่กินมากเกินกว่าร่างกายจะใช้หมด ทำให้เกิดโรคแห่งการสะสม อย่างอื่นๆ ตามมาได้
ชายไทยอายุมากกว่า ๑๕ ปีขึ้นไป อ้วนถึงร้อยละ ๒๒.๕ มีเส้นรอบเอวที่เกินมาตรฐาน ๙๐ เซนติเมตร พบร้อยละ ๑๕
ส่วนหญิงไทยอ้วนร้อยละ ๓๔.๔ เส้นรอบเอวที่เกินมาตรฐาน ๘๐ เซนติเมตร
พบร้อยละ ๓๖ ประชากรชายหญิงในเขตกรุงเทพฯ และในเขตเทศบาลจะอ้วนมากกว่าในเขตอื่นๆ
สะสมอะไรจึงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
ไขมันในอาหาร เครื่องดื่ม ที่กินเข้าไปจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันไม่ดีทำให้ระดับไขมันดังกล่าวสูงขึ้นในเลือดมากจนล้นเข้าไปเกาะอยู่ตามหลอดเลือด เมื่อไขมันรวมกับสารอนุมูลอิสระซึ่งเป็นของเสียที่เกิดจากการทำงานของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ทำให้เกิดไขมันไม่ดีที่อันตรายมากขึ้น ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวถูกดึงมาสะสมในหลอดเลือด เพื่อเก็บกินไขมันและสารอนุมูลอิสระเหล่านี้ จะเกิดการอักเสบขึ้นในหลอดเลือด ถ้ามีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เช่น ผู้ป่วยเบา-หวาน น้ำตาลจะสะสมและทำให้การอักเสบนี้จะลุกลามได้มากขึ้น ถ้ามีแรงกระแทกจากความดันเลือดที่สูงผสมด้วยแล้ว ทำให้หลอดเลือดที่อักเสบเกิดปริแตกเป็นแผล เกล็ดเลือดและเม็ดเลือดจะรวมตัวกันเป็นก้อนเลือดอุดตันหลอดเลือด
ยิ่งถ้าสูบบุหรี่ด้วย สารนิโคตินที่อยู่ในบุหรี่จะสะสม ในหลอดเลือดทำให้เลือดเกาะกันเป็นก้อนเลือดใหญ่ขึ้นจนอาจเกิดหลอดเลือดตัน ผู้ป่วยจะเจ็บแน่นหน้าอกอย่างมาก เหงื่อแตก ใจสั่น บางคนอาจถึงกับหมดสติ ถ้าไม่มีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจภายใน ๖ ชั่วโมง จะจะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย บางครั้งเกิดการเต้นหัวใจผิดจังหวะอย่างรุนแรงจนเสียชีวิตได้
คนไทยตายด้วยโรคหัวใจ ๑๗,๐๐๐ กว่าคน หรือประมาณ ๒ คนต่อชั่วโมง
จังหวัดที่มีคนตายด้วยโรคหัวใจมากที่สุด คือ กรุงเทพฯ ๓,๐๐๐ คนต่อปี
ทุกๆ ครึ่งชั่วโมงจะมีคนไทยอย่างน้อย ๑ คน ตายจากโรคหัวใจ
ทุกๆ วัน จะมีคนกรุงเทพฯ อย่างน้อย ๘ คน ตายจากโรคหัวใจ
โรคหัวใจที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุดคือ โรคหลอดเลือดหัวใจ
อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นโรคร้ายแห่งการสะสมได้อย่างไร
โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคหลอดเลือดสมองตีบ มีการเกิดโรคที่คล้ายกับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ดังนั้น ภาวะสะสมที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ก็ทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตได้เหมือนกัน เช่น ไขมันไม่ดี สารอนุมูลอิสระที่เพิ่มขึ้นหรือขาดสารขจัดอนุมูลอิสระจากผัก ผลไม้ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจากเบาหวาน สูบบุหรี่ และความดันเลือดสูง
นอกจากนี้ ภาวะการเต้นหัวใจห้องบนผิดจังหวะอย่างรุนแรง และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวขึ้น ก็ทำให้เพิ่มโอกาสการเกิดก้อนเลือดที่หัวใจหลุดไปอุดตันหลอดเลือดสมอง ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้
ความดันเลือดสูง นอกจากเพิ่มโอกาสเกิดหลอดเลือดสมองอุดตันแล้ว ยังทำให้เกิดหลอดเลือดสมองแตก เลือดออกในสมองได้ บางครั้งจำเป็นต้องผ่าตัดสมองฉุกเฉิน บางรายถึงกับเสียชีวิต
คนไทยตายด้วยโรคหลอดเลือดสมอง ๑๕,๐๐๐ กว่าคน หรือประมาณ ๑ คนกว่าๆ ต่อชั่วโมง
จังหวัดที่มีคนตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองมากที่สุดคือ กรุงเทพฯ ซึ่งครองแชมป์ตลอดกาลคือ ๒,๒๐๐ กว่าคนต่อปี
โรคหลอดเลือดสมองที่คนไทยเป็นส่วนใหญ่เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต (ร้อยละ ๗๐) ส่วนอีกร้อยละ ๓๐ เกิดจากหลอดเลือดสมองแตก ทำให้เลือดออกในสมอง
โรคร้ายแห่งการสะสมมาเป็นกลุ่ม
ส่วนใหญ่อาจเริ่มด้วยโรคใดโรคหนึ่งก่อนและจะมีโรคที่ ๒, ๓ หรือ ๔ ตามมาก็ได้ เช่น เริ่มด้วยน้ำหนักเกิน อ้วน ตามด้วยความดันเลือดสูง ต่อมาเป็นเบาหวาน และเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดสมองตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือบางคนอาจเป็นเบาหวาน ความดันเลือดสูง อ้วน แล้วต่อมาก็เกิดมะเร็งเต้านมตามมา เป็นต้น
จากการติดตามศึกษาสาเหตุการตายของผู้ป่วยเบาหวานที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จำนวน ๒๐๐ กว่ารายเป็นเวลาเฉลี่ย ๔ ปีเศษ พบว่าสาเหตุการตายอันดับ ๑ คือการติดเชื้อในกระแสเลือด รองลงมาคือโรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวายระยะสุดท้าย และมะเร็ง ตามลำดับ
โรคร้ายแห่งการสะสมเป็นโรคที่ระบาดทั่วโลกตามกระแสวัตถุนิยม บริโภคนิยม ทำให้เกิดการ บริโภคอาหาร เครื่องดื่ม เกินจนร่างกายใช้ไม่หมด (ขาดการออกกำลังกาย) ขับออกจากร่างกายไม่ทัน และเกิดโรคร้ายในที่สุด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)