๖ คำถามน่ารู้ โรคไขมันสะสมในตับ
ภาวะอ้วนลงพุงของคนเราที่เกิดจาก “พฤติกรรมสุขภาพ” พบมากขึ้นในสังคมไทย ส่งผลให้เกิดปัญหาโรคแทรกซ้อนตามมาอีกหลายโรคที่สัมพันธ์กับภาวะอ้วนลงพุง นั่นคือโรคไขมันสะสมในตับ มาทำความรู้จักที่มาของปัญหาไขมันสะสมในตับ การป้องกัน และการแก้ไข ผ่าน ๖ คำถามน่ารู้
๑. โรคไขมันสะสมในตับพบได้บ่อยแค่ไหนและลักษณะการดำเนินโรคเป็นไปอย่างไร?
โรคไขมันสะสมในตับจัดเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ซึ่งจากข้อมูลที่มีการศึกษาพบว่ามีความชุกของโรคไขมันสะสมในตับ สูงถึงร้อยละ ๙-๔๐ และมีความสัมพันธ์กับความชุกของโรคอ้วน ส่วนความชุกของโรคไขมันสะสมในตับที่มีการอักเสบร่วมด้วยนั้นพบร้อยละ ๖-๑๓ ของประชากรทั่วไป
ในการศึกษาที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่ามีผู้ป่วยโรคไขมันสะสมในตับสูงถึงร้อยละ ๗๒ ในกลุ่มผู้ป่วยตับอักเสบที่ไม่พบสาเหตุจากไวรัสตับอักเสบบี ซี และแอลกอฮอล์ ส่วนที่เหลือร้อยละ ๒๘ เป็นกลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุ
โรคนี้พบได้บ่อยขึ้นในผู้ป่วยบางกลุ่ม เช่น คนอ้วน จะพบปัญหาโรคไขมันสะสมในตับหรือ Non-alcoholic fatty liver disease (NAFLD) หรือ Non-alcoholic-steatohepatitis (NASH) ได้ ถึงร้อยละ ๓๗-๙๐ ส่วนในคนที่เป็นเบาหวานพบถึงร้อยละ ๗๒
สรุปง่ายๆ ก็คือ ถ้ามีโรคเบาหวานหรือโรคอ้วนอยู่ จะมีโอกาสพบโรคไขมันสะสมในตับได้มากถึง ๗ ใน ๑๐ ราย
ผู้ป่วยมักไม่มีอาการแต่มาพบแพทย์ด้วยเรื่องที่มีค่าการทำงานของตับผิดปกติจากการตรวจสุขภาพ โดยมีค่าที่สูงขึ้นประมาณ ๑.๕ เท่า และตรวจหาสาเหตุอื่นๆ แล้วไม่พบ เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบี หรือไวรัสตับอักเสบชนิดซี
โรคนี้มักมีการดำเนินโรคอย่างช้าๆ ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง โดยส่วนใหญ่มักใช้เวลานานเป็น ๑๐ ปีจึงจะเห็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ ภาวะตับแข็ง และการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและเกิดได้ตั้งแต่วัยทำงาน จึงเป็นปัญหาสำคัญในระยะยาว
๒. จะรู้ได้อย่างไรว่าอาจเป็นโรคไขมันสะสมในตับ
เราสามารถตรวจตนเองเบื้องต้นได้ดังนี้
ส่วนที่ ๑ คือ การประเมินสภาพร่างกายตนเองว่ามีโรคอ้วนหรือไม่
วิธีคำนวณ
โดยใช้ค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index: BMI) ที่คำนวณจาก ค่าน้ำหนัก (กิโลกรัม) หารด้วยความสูงยกกำลังสอง (เมตร๒) หรือเขียนสั้น ๆ ว่า
ดัชนีมวลกาย = น้ำหนัก (กิโลกรัม) หาร (ความสูง x ความสูง)
ผลที่ได้จะออกมาเป็น กิโลกรัมต่อตารางเมตร
ยกตัวอย่างเช่น
ชายน้ำหนัก ๘๐ กิโลกรัม ความสูง ๑.๖๘ เมตร
ดัชนีมวลกาย = ๘๐ หาร (๑.๖๘ x ๑.๖๘) = ๒๘.๓๔ กิโลกรัมต่อตารางเมตร
เกณฑ์วินิจฉัยสำหรับคนเอเชีย ให้ค่าที่เกิน ๒๘ กก./ตร.ม. (กิโลกรัมต่อตารางเมตร) เป็นภาวะอ้วน ดังนั้น กรณีตัวอย่างชายผู้นี้จึงถือว่ามีโรคอ้วน
ส่วนที่ ๒ ตรวจสอบข้อมูลโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับภาวะไขมันเกาะตับ
ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน ว่าได้รับการรักษาและควบคุมได้ดีหรือไม่
นอกจากนี้ การพบโรคร่วมดังกล่าวซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของภาวะอ้วนลงพุง (metabolic syndrome) จะมีโอกาสเกิดภาวะตับอักเสบและมีพังผืดในตับได้มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะอ้วนลงพุง
ส่วนองค์ประกอบของภาวะอ้วนลงพุงนั้น กำหนดเกณฑ์วินิจฉัยไว้ดังนี้ คือ
ก. องค์ประกอบแรกต้องมีโรคอ้วนที่วินิจฉัยโดยใช้เกณฑ์ของคนเอเชียคือ
ผู้ชายมีเส้นรอบเอวอย่างน้อย ๙๐ ซม. (๓๖ นิ้ว)
ผู้หญิงมีเส้นรอบเอวอย่างน้อย ๘๐ ซม (๓๒ นิ้ว)
ข. ร่วมกับเกณฑ์ ๒ ข้อจาก ๔ ข้อต่อไปนี้
๑. ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง เกินกว่า ๑๕๐ มก./ดล.
๒. ระดับไขมันคอเลสเตอรอลตัวดี (HDL–cholesterol) โดย
- ผู้ชายต่ำกว่า ๔๐ มก./ดล.
- ผู้หญิงต่ำกว่า ๕๐ มก./ดล.
๓. มีความดันเลือดสูง ตั้งแต่ ๑๓๐/๘๕ มม.ปรอท ขึ้นไป หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันเลือดสูงที่กำลังรับยารักษาอยู่
๔. ระดับน้ำตาลตอนเช้า (อดอาหาร) สูงตั้งแต่ ๑๐๐ มก./ดล. หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่ามีโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน
๓. เมื่อทราบว่าเป็นโรคไขมันสะสมในตับแล้ว จะดูแลสุขภาพอย่างไร?
แพทย์จะมีหลักในการดูแลรักษา ๒ ส่วนคือวิธีรักษาที่ไม่ต้องใช้ยาและการใช้ยา
วิธีการรักษาที่ไม่ต้องใช้ยานั้นผู้ป่วยต้องดูแลตนเองให้มาก
สำหรับการใช้ยา ปัจจุบันมียาที่อาจพิจารณาใช้ได้อยู่ไม่กี่ชนิด และผลการวิจัยก็พบว่ายาเหล่านี้ช่วยลดการอักเสบของตับได้ แต่ไม่สามารถลดภาวะพังผืดในตับได้ ส่วนควรใช้ยาตัวใด และควรเริ่มยาเมื่อไรนั้นต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์
๔. การดูแลรักษาสุขภาพด้วยตนเองเบื้องต้น
สิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยโรคไขมันเกาะตับต้องลงมือปฏิบัติและต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันบางส่วนจึงจะได้ผลในการรักษา โดยมีรายละเอียดดังนี้
๑. งดดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด หรือลดการดื่มแอลกอฮอล์ให้น้อยลงจนเลิกดื่ม
๒. หลีกเลี่ยงการใช้ยา อาหารเสริมหรือสมุนไพรที่ไม่จำเป็น เพราะนอกจากมีโอกาสทำให้ตับอักเสบแล้ว ยังอาจทำให้มีไขมันสะสมในตับเพิ่มขึ้นได้ เช่นกลุ่มอาหารเสริม สมุนไพรที่พบว่าทำให้ตับอักเสบได้ เช่น ขี้เหล็ก มะรุม เป็นต้น
๓. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยพบว่ามีผลต่อการลดภาวะอักเสบของตับได้อย่างชัดเจน ซึ่งยืนยันได้จากทั้งผลตรวจเลือดค่าทำงานตับหรือผลการเจาะตับ หากทำได้อย่างสม่ำเสมอ ถึงแม้ว่าน้ำหนักจะไม่ลดลงในช่วงแรกก็ตาม โดยทั่วไปพบว่ามีผู้ป่วยเพียง ๑ ใน ๓ ที่จะออกกำลังกายได้อย่างสม่ำเสมอและลดน้ำหนักได้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงภาวะดื้อต่ออินซูลินที่มีอยู่เดิมให้ลดลงซึ่งช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้น ส่วนหลักการลดน้ำหนักควรวางเป้าหมายไว้ที่ ๑ กิโลกรัมต่อสัปดาห์ (ไม่ควรเกิน ๑.๖ กิโลกรัมต่อสัปดาห์)
กิจกรรมหรือชนิดของการออกกำลังกายที่แนะนำสรุปไว้ในตารางที่ ๑ คือเป็นการออกกำลังกายในระดับปานกลาง (moderate intensity physical activity) โดยควรตั้งเป้าหมายให้ทำกิจกรรมดังกล่าวได้นาน ๒๐๐ นาทีต่อสัปดาห์ ระยะเวลา ๖ เดือน (ประมาณ ครึ่งชั่วโมงต่อวัน)
ส่วนวิธีประเมินผลว่าเป็นการออกกำลังกายในระดับ moderate intensity physical activity หรือไม่ให้ใช้อัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งคำนวณจาก...
ค่า (๒๒๐ ลบ อายุ) คูณ (ร้อยละ ๕๐-๗๐)
ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยอายุ ๔๐ ปี เมื่อออกกำลังกายในระดับปานกลางแล้วควรมีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่
(๒๒๐-๔๐) x ๐.๕ (ร้อยละ ๕๐) = ๙๐
ถึง (๒๒๐-๔๐) x ๐.๗ (ร้อยละ ๕๐) = ๑๒๖
หรือมีค่าระหว่าง ๙๐-๑๒๖ ครั้ง/นาที
(http://www.cdc.gov/physicalactivity/everyone/measuring/heartrate.html)
๑. โรคไขมันสะสมในตับพบได้บ่อยแค่ไหนและลักษณะการดำเนินโรคเป็นไปอย่างไร?
โรคไขมันสะสมในตับจัดเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ซึ่งจากข้อมูลที่มีการศึกษาพบว่ามีความชุกของโรคไขมันสะสมในตับ สูงถึงร้อยละ ๙-๔๐ และมีความสัมพันธ์กับความชุกของโรคอ้วน ส่วนความชุกของโรคไขมันสะสมในตับที่มีการอักเสบร่วมด้วยนั้นพบร้อยละ ๖-๑๓ ของประชากรทั่วไป
ในการศึกษาที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่ามีผู้ป่วยโรคไขมันสะสมในตับสูงถึงร้อยละ ๗๒ ในกลุ่มผู้ป่วยตับอักเสบที่ไม่พบสาเหตุจากไวรัสตับอักเสบบี ซี และแอลกอฮอล์ ส่วนที่เหลือร้อยละ ๒๘ เป็นกลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุ
โรคนี้พบได้บ่อยขึ้นในผู้ป่วยบางกลุ่ม เช่น คนอ้วน จะพบปัญหาโรคไขมันสะสมในตับหรือ Non-alcoholic fatty liver disease (NAFLD) หรือ Non-alcoholic-steatohepatitis (NASH) ได้ ถึงร้อยละ ๓๗-๙๐ ส่วนในคนที่เป็นเบาหวานพบถึงร้อยละ ๗๒
สรุปง่ายๆ ก็คือ ถ้ามีโรคเบาหวานหรือโรคอ้วนอยู่ จะมีโอกาสพบโรคไขมันสะสมในตับได้มากถึง ๗ ใน ๑๐ ราย
ผู้ป่วยมักไม่มีอาการแต่มาพบแพทย์ด้วยเรื่องที่มีค่าการทำงานของตับผิดปกติจากการตรวจสุขภาพ โดยมีค่าที่สูงขึ้นประมาณ ๑.๕ เท่า และตรวจหาสาเหตุอื่นๆ แล้วไม่พบ เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบี หรือไวรัสตับอักเสบชนิดซี
โรคนี้มักมีการดำเนินโรคอย่างช้าๆ ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง โดยส่วนใหญ่มักใช้เวลานานเป็น ๑๐ ปีจึงจะเห็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ ภาวะตับแข็ง และการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและเกิดได้ตั้งแต่วัยทำงาน จึงเป็นปัญหาสำคัญในระยะยาว
๒. จะรู้ได้อย่างไรว่าอาจเป็นโรคไขมันสะสมในตับ
เราสามารถตรวจตนเองเบื้องต้นได้ดังนี้
ส่วนที่ ๑ คือ การประเมินสภาพร่างกายตนเองว่ามีโรคอ้วนหรือไม่
วิธีคำนวณ
โดยใช้ค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index: BMI) ที่คำนวณจาก ค่าน้ำหนัก (กิโลกรัม) หารด้วยความสูงยกกำลังสอง (เมตร๒) หรือเขียนสั้น ๆ ว่า
ดัชนีมวลกาย = น้ำหนัก (กิโลกรัม) หาร (ความสูง x ความสูง)
ผลที่ได้จะออกมาเป็น กิโลกรัมต่อตารางเมตร
ยกตัวอย่างเช่น
ชายน้ำหนัก ๘๐ กิโลกรัม ความสูง ๑.๖๘ เมตร
ดัชนีมวลกาย = ๘๐ หาร (๑.๖๘ x ๑.๖๘) = ๒๘.๓๔ กิโลกรัมต่อตารางเมตร
เกณฑ์วินิจฉัยสำหรับคนเอเชีย ให้ค่าที่เกิน ๒๘ กก./ตร.ม. (กิโลกรัมต่อตารางเมตร) เป็นภาวะอ้วน ดังนั้น กรณีตัวอย่างชายผู้นี้จึงถือว่ามีโรคอ้วน
ส่วนที่ ๒ ตรวจสอบข้อมูลโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับภาวะไขมันเกาะตับ
ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน ว่าได้รับการรักษาและควบคุมได้ดีหรือไม่
นอกจากนี้ การพบโรคร่วมดังกล่าวซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของภาวะอ้วนลงพุง (metabolic syndrome) จะมีโอกาสเกิดภาวะตับอักเสบและมีพังผืดในตับได้มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะอ้วนลงพุง
ส่วนองค์ประกอบของภาวะอ้วนลงพุงนั้น กำหนดเกณฑ์วินิจฉัยไว้ดังนี้ คือ
ก. องค์ประกอบแรกต้องมีโรคอ้วนที่วินิจฉัยโดยใช้เกณฑ์ของคนเอเชียคือ
ผู้ชายมีเส้นรอบเอวอย่างน้อย ๙๐ ซม. (๓๖ นิ้ว)
ผู้หญิงมีเส้นรอบเอวอย่างน้อย ๘๐ ซม (๓๒ นิ้ว)
ข. ร่วมกับเกณฑ์ ๒ ข้อจาก ๔ ข้อต่อไปนี้
๑. ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง เกินกว่า ๑๕๐ มก./ดล.
๒. ระดับไขมันคอเลสเตอรอลตัวดี (HDL–cholesterol) โดย
- ผู้ชายต่ำกว่า ๔๐ มก./ดล.
- ผู้หญิงต่ำกว่า ๕๐ มก./ดล.
๓. มีความดันเลือดสูง ตั้งแต่ ๑๓๐/๘๕ มม.ปรอท ขึ้นไป หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันเลือดสูงที่กำลังรับยารักษาอยู่
๔. ระดับน้ำตาลตอนเช้า (อดอาหาร) สูงตั้งแต่ ๑๐๐ มก./ดล. หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่ามีโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน
๓. เมื่อทราบว่าเป็นโรคไขมันสะสมในตับแล้ว จะดูแลสุขภาพอย่างไร?
แพทย์จะมีหลักในการดูแลรักษา ๒ ส่วนคือวิธีรักษาที่ไม่ต้องใช้ยาและการใช้ยา
วิธีการรักษาที่ไม่ต้องใช้ยานั้นผู้ป่วยต้องดูแลตนเองให้มาก
สำหรับการใช้ยา ปัจจุบันมียาที่อาจพิจารณาใช้ได้อยู่ไม่กี่ชนิด และผลการวิจัยก็พบว่ายาเหล่านี้ช่วยลดการอักเสบของตับได้ แต่ไม่สามารถลดภาวะพังผืดในตับได้ ส่วนควรใช้ยาตัวใด และควรเริ่มยาเมื่อไรนั้นต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์
๔. การดูแลรักษาสุขภาพด้วยตนเองเบื้องต้น
สิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยโรคไขมันเกาะตับต้องลงมือปฏิบัติและต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันบางส่วนจึงจะได้ผลในการรักษา โดยมีรายละเอียดดังนี้
๑. งดดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด หรือลดการดื่มแอลกอฮอล์ให้น้อยลงจนเลิกดื่ม
๒. หลีกเลี่ยงการใช้ยา อาหารเสริมหรือสมุนไพรที่ไม่จำเป็น เพราะนอกจากมีโอกาสทำให้ตับอักเสบแล้ว ยังอาจทำให้มีไขมันสะสมในตับเพิ่มขึ้นได้ เช่นกลุ่มอาหารเสริม สมุนไพรที่พบว่าทำให้ตับอักเสบได้ เช่น ขี้เหล็ก มะรุม เป็นต้น
๓. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยพบว่ามีผลต่อการลดภาวะอักเสบของตับได้อย่างชัดเจน ซึ่งยืนยันได้จากทั้งผลตรวจเลือดค่าทำงานตับหรือผลการเจาะตับ หากทำได้อย่างสม่ำเสมอ ถึงแม้ว่าน้ำหนักจะไม่ลดลงในช่วงแรกก็ตาม โดยทั่วไปพบว่ามีผู้ป่วยเพียง ๑ ใน ๓ ที่จะออกกำลังกายได้อย่างสม่ำเสมอและลดน้ำหนักได้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงภาวะดื้อต่ออินซูลินที่มีอยู่เดิมให้ลดลงซึ่งช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้น ส่วนหลักการลดน้ำหนักควรวางเป้าหมายไว้ที่ ๑ กิโลกรัมต่อสัปดาห์ (ไม่ควรเกิน ๑.๖ กิโลกรัมต่อสัปดาห์)
กิจกรรมหรือชนิดของการออกกำลังกายที่แนะนำสรุปไว้ในตารางที่ ๑ คือเป็นการออกกำลังกายในระดับปานกลาง (moderate intensity physical activity) โดยควรตั้งเป้าหมายให้ทำกิจกรรมดังกล่าวได้นาน ๒๐๐ นาทีต่อสัปดาห์ ระยะเวลา ๖ เดือน (ประมาณ ครึ่งชั่วโมงต่อวัน)
ส่วนวิธีประเมินผลว่าเป็นการออกกำลังกายในระดับ moderate intensity physical activity หรือไม่ให้ใช้อัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งคำนวณจาก...
ค่า (๒๒๐ ลบ อายุ) คูณ (ร้อยละ ๕๐-๗๐)
ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยอายุ ๔๐ ปี เมื่อออกกำลังกายในระดับปานกลางแล้วควรมีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่
(๒๒๐-๔๐) x ๐.๕ (ร้อยละ ๕๐) = ๙๐
ถึง (๒๒๐-๔๐) x ๐.๗ (ร้อยละ ๕๐) = ๑๒๖
หรือมีค่าระหว่าง ๙๐-๑๒๖ ครั้ง/นาที
(http://www.cdc.gov/physicalactivity/everyone/measuring/heartrate.html)
ตารางที่ ๑ หรือชนิดของการออกกำลังกายที่แนะนำ
กิจกรรมที่ทำนานครึ่งชั่วโมง | สัปดาห์ละ | เผาผลาญแคลอรี: กิโลแคลอรี (Kcal)/ ครั้ง/ น้ำหนัก ๖๕-๗๐ กิโลกรัม |
การออกกำลังกายในระดับปานกลาง หรือ moderate intensity aerobic exercise | ||
- การเดินเร่งอย่างต่อเนื่องหรือเทียบเท่าจำนวนก้าวอย่างน้อย ๑๐,๐๐๐ ก้าว (ความเร็วประมาณ ๕ กม./ชม.) | ๕ ครั้ง | ๑๓๐-๑๗๐ |
- การเต้นแอโรบิก | ๕ ครั้ง | ๑๗๕ |
- การขี่จักรยานด้วยความเร็วไม่เกิน ๘.๕-๙ กม./ชม.* | ๕ ครั้ง | ๑๒๐ |
การออกกำลังกายในระดับสูงหรือ high intensity aerobic exercise | ||
- การวิ่งด้วยความเร็วประมาณ ๙-๑๒ กม./ชม. | ๓ ครั้ง | ๓๓๐-๓๕๐ |
- การขี่จักรยานด้วยความเร็ว ๑๗-๒๒ กม./ชม.* | ๓ ครั้ง | ๒๑๐-๓๓๐ |
- การเดินเร่งอย่างต่อเนื่องความเร็ว ๘.๕ กม./ชม. | ๓ ครั้ง | ๒๘๐ |
- การว่ายน้ำต่อเนื่อง | ๕ ครั้ง | ๒๗๐ |
- กระโดดเชือก | ๓ ครั้ง | ๓๓๐ |
*มักต้องใช้ระยะเวลานานกว่าการเดินเร่งหรือวิ่ง เพราะเป็นกิจกรรมที่ไม่ได้ลงน้ำหนัก (Non-Weight-Bearing)
อ้างอิง http://www.cdc.gov/physicalactivity/everyone/guidelines/adults.html
http://www.exercise4weightloss.com/fat-burning-exercises-aerobic.html
http://www.holisticonline.com/remedies/weight/weight_calories-burned-by-...
สำหรับการออกกำลังกายในระดับสูง (high intensity physical activity) จะช่วยเผาผลาญไขมันคิดเป็นพลังงานได้ประมาณ ๒ เท่า ของการออกกำลังกายในระดับปานกลาง
๔. การควบคุมอาหารและแคลอรี โดยมีหลักการดังนี้
เลือกกินอาหารให้ครบ ๕ หมู่และควบคุมอาหารให้ได้พลังงานพอเพียงเท่าที่ร่างกายต้องการ
โดยทั่วไปควรได้พลังงาน ๓๐ กิโลแคลอรี ต่อน้ำหนักตัวมาตรฐาน ๑ กก.ต่อวัน หรือ ๓๐ x น้ำหนักตัว
ตัวอย่างเช่น คนน้ำหนัก ๖๐ กก.
๓๐ x ๖๐ กก. = ควรได้พลังงานประมาณ ๑,๘๐๐ กิโลแคลอรีต่อวัน
โดยได้จากอาหาร ๓ มื้อ เฉลี่ยมื้อละ ๖๐๐ กิโลแคลอรี อาจไม่ต้องแบ่งให้เท่ากัน เพราะมื้อเช้าและกลางวัน ควรกินให้ได้พลังงานมากกว่ามื้อเย็น
ผู้ป่วยโรคไขมันสะสมในตับจำเป็นต้องควบคุมพลังงานที่ร่างกายต้องการให้เหลือเพียง ๑,๐๐๐-๑,๒๐๐ กิโลแคลอรีต่อวัน ต่อน้ำหนักตัวไม่เกิน ๙๐ กิโลกรัม
หากน้ำหนักตัวเกิน ๙๐ กิโลกรัม ควรปรับปริมาณพลังงานที่ควรได้ให้ไม่เกิน ๑,๕๐๐ กิโลแคลอรีต่อวัน ชนิดของอาหารควรเลือกให้เหมาะสมดังสรุปปริมาณแคลอรีที่ได้จากอาหารจานเดี่ยวในตารางที่ ๒
อ้างอิง http://www.cdc.gov/physicalactivity/everyone/guidelines/adults.html
http://www.exercise4weightloss.com/fat-burning-exercises-aerobic.html
http://www.holisticonline.com/remedies/weight/weight_calories-burned-by-...
สำหรับการออกกำลังกายในระดับสูง (high intensity physical activity) จะช่วยเผาผลาญไขมันคิดเป็นพลังงานได้ประมาณ ๒ เท่า ของการออกกำลังกายในระดับปานกลาง
๔. การควบคุมอาหารและแคลอรี โดยมีหลักการดังนี้
เลือกกินอาหารให้ครบ ๕ หมู่และควบคุมอาหารให้ได้พลังงานพอเพียงเท่าที่ร่างกายต้องการ
โดยทั่วไปควรได้พลังงาน ๓๐ กิโลแคลอรี ต่อน้ำหนักตัวมาตรฐาน ๑ กก.ต่อวัน หรือ ๓๐ x น้ำหนักตัว
ตัวอย่างเช่น คนน้ำหนัก ๖๐ กก.
๓๐ x ๖๐ กก. = ควรได้พลังงานประมาณ ๑,๘๐๐ กิโลแคลอรีต่อวัน
โดยได้จากอาหาร ๓ มื้อ เฉลี่ยมื้อละ ๖๐๐ กิโลแคลอรี อาจไม่ต้องแบ่งให้เท่ากัน เพราะมื้อเช้าและกลางวัน ควรกินให้ได้พลังงานมากกว่ามื้อเย็น
ผู้ป่วยโรคไขมันสะสมในตับจำเป็นต้องควบคุมพลังงานที่ร่างกายต้องการให้เหลือเพียง ๑,๐๐๐-๑,๒๐๐ กิโลแคลอรีต่อวัน ต่อน้ำหนักตัวไม่เกิน ๙๐ กิโลกรัม
หากน้ำหนักตัวเกิน ๙๐ กิโลกรัม ควรปรับปริมาณพลังงานที่ควรได้ให้ไม่เกิน ๑,๕๐๐ กิโลแคลอรีต่อวัน ชนิดของอาหารควรเลือกให้เหมาะสมดังสรุปปริมาณแคลอรีที่ได้จากอาหารจานเดี่ยวในตารางที่ ๒
๕. เลือกกินอาหารอย่างไรให้ควบคุมปริมาณพลังงานที่เหมาะสม?
๑. เลือกอาหารว่างและผลไม้ที่มีปริมาณการดูดซึมปริมาณน้ำตาลหรือ Glycemic index ที่ต่ำ
หลีกเลี่ยงอาหารว่างและผลไม้ที่มีพลังงานที่สูง เช่น เครื่องดื่มที่มีนมเนยผสมปริมาณมากๆ ไอศกรีม ขนมหวานจัด ผลไม้หวานจัด เช่น ทุเรียน ลำไย ที่มีค่า Glycemic index สูง
ส่วนผลไม้ที่กินได้เพราะปริมาณการดูดซึมปริมาณน้ำตาลต่ำ ได้แก่ กล้วย มะละกอ แอปเปิ้ล เป็นต้น ดังสรุปปริมาณแคลอรีที่ได้ในตารางที่ ๓-๔
๒. กินอาหารที่มีปริมาณเส้นใยสูงให้ได้ปริมาณอย่างน้อย ๔๐ กรัมต่อวัน
ตารางที่ ๒ ตัวอย่างของอาหารจานเดี่ยวที่มีปริมาณพลังงาน (กิโลแคลอรี) กำกับ
๑. เลือกอาหารว่างและผลไม้ที่มีปริมาณการดูดซึมปริมาณน้ำตาลหรือ Glycemic index ที่ต่ำ
หลีกเลี่ยงอาหารว่างและผลไม้ที่มีพลังงานที่สูง เช่น เครื่องดื่มที่มีนมเนยผสมปริมาณมากๆ ไอศกรีม ขนมหวานจัด ผลไม้หวานจัด เช่น ทุเรียน ลำไย ที่มีค่า Glycemic index สูง
ส่วนผลไม้ที่กินได้เพราะปริมาณการดูดซึมปริมาณน้ำตาลต่ำ ได้แก่ กล้วย มะละกอ แอปเปิ้ล เป็นต้น ดังสรุปปริมาณแคลอรีที่ได้ในตารางที่ ๓-๔
๒. กินอาหารที่มีปริมาณเส้นใยสูงให้ได้ปริมาณอย่างน้อย ๔๐ กรัมต่อวัน
ตารางที่ ๒ ตัวอย่างของอาหารจานเดี่ยวที่มีปริมาณพลังงาน (กิโลแคลอรี) กำกับ
รายละเอียดของอาหาร | ปริมาณพลังงานกิโลแคลอรี (Kcal) |
เส้นหมี่ลูกชิ้นเนื้อวัวน้ำ ๔๔๗ กรัม | ๒๒๖ |
กระเพาะปลาปรุงสำเร็จ ๓๙๒ กรัม | ๒๓๙ |
ขนมจีนน้ำยา ๔๓๕ กรัม | ๓๓๒ |
ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่เย็นตาโฟน้ำ ๔๙๔ กรัม | ๓๕๒ |
ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ราดหน้าหมู ๓๕๔ กรัม | ๓๙๗ |
ข้าวขาหมู ๒๘๙ กรัม | ๔๓๘ |
ข้าวแกงเขียวหวานไก่ ๓๑๘ กรัม | ๔๘๓ |
ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กแห้งหมู ๒๓๕ กรัม | ๕๓๐ |
ข้าวหมูแดง ๓๒๐ กรัม | ๕๔๐ |
ข้าวผัดใบกะเพราไก่ ๒๙๓ กรัม | ๕๕๔ |
ข้าวผัดหมูใส่ไข่ ๓๑๕ กรัม | ๕๕๗ |
ก๋วยเตี๋ยวผัดไทยใส่ไข่ ๒๔๔ กรัม | ๕๗๗ |
ข้าวมันไก่ ๓๐๐ กรัม | ๕๙๖ |
ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ผัดซีอิ๊วหมู ๓๕๐ กรัม | ๖๗๙ |
อ้างอิง http://nutrition.anamai.moph.go.th/aging/Html/oneplate.html
http://www.sugarstacks.com/snacks.htm
http://www.sugarstacks.com/snacks.htm
๓. ระลึกเสมอว่าการเผาผลาญพลังงานด้วยการออกกำลังกายต้องใช้เวลาทำอย่างสม่ำเสมอ และต้องทำควบคู่กับการควบคุมปริมาณอาหารที่กินในแต่ละวันด้วย
ดังนั้น การจดบันทึกชนิดและปริมาณแคลอรีของอาหารที่กินในแต่ละวันจะเป็นประโยชน์ต่อการติดตามผลได้
ตัวอย่างเช่น ถ้ากินข้าวมันไก่เกินที่ควรจะเป็นจำนวน ๑ จาน (๓๐๐ กรัม) จะได้พลังงานเกินที่ต้องการถึง ๕๙๖ กิโลแคลอรี ซึ่งต้องออกกำลังกายในระดับสูง เช่น ด้วยการวิ่งความเร็วประมาณ ๙-๑๒ กม./ชม. นานถึง ๑ ชั่วโมงจึงจะเผาผลาญพลังงานส่วนเกินดังกล่าวได้
รายละเอียดของพลังงานในอาหารแต่ละอย่างมีสรุปไว้ในตารางที่ ๒-๓
จากผลการวิจัยยืนยันว่าผู้ป่วยโรคไขมันเกาะตับที่มีภาวะอักเสบ หากควบคุมน้ำหนักจนลดได้ร้อยละ ๗-๑๐ ในช่วง ๙-๑๒ เดือน ทั้งจากการควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยทำให้ภาวะตับอักเสบดีขึ้น ภาวะดื้อต่ออินซูลินลดลง ค่าไขมันค่าการทำงานตับก็จะดีขึ้นด้วย
ผลของการควบคุมน้ำหนักที่ลดได้มากเท่าใดก็ยิ่งเห็นผลการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของลักษณะพยาธิวิทยาของตับชัดเจนขึ้น อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของภาวะพังผืดยังไม่ชัดเจนจากการติดตามผล ๑ ปี
๖. จุดมุ่งหมายของการรักษาโรคไขมันสะสมในตับมีอะไรบ้าง?
จุดมุ่งหมายของการรักษามีดังนี้คือ
• ป้องกันการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดด้วยการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน
• ป้องกันการเกิดภาวะตับแข็งด้วยการลดการอักเสบของตับ
• ป้องกันการเกิดมะเร็งที่อาจพบแทรกซ้อนได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น