สถิติโรคมะเร็งที่พบมากของผู้ชายไทยคือ มะเร็งตับและทางเดินน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งศีรษะและลำคอ ตามลำดับ
สำหรับมะเร็งที่พบมากของผู้หญิงไทยคือ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งตับและทางเดินน้ำดี มะเร็งลำไส้ใหญ่ ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามแนวโน้มปัจจุบันจะพบมะเร็งเต้านมมากขึ้นในสตรีไทย ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตประจำวันและอาหารการกินที่เลียนแบบตะวันตกมากขึ้น ทำให้โรคมะเร็งที่พบมากของผู้หญิงไทยเปลี่ยนแปลงไปตามแนวทางตะวันตกมากขึ้นเช่นกัน
อาการของโรคมะเร็ง
แบ่งเป็นอาการทั่วไป และอาการจำเพาะของแต่ละโรคในอวัยวะต่างๆ
อาการทั่วไป อ่อนเพลีย มีอาการร่วมกับการเบื่ออาหารและน้ำหนักลด (น้ำหนักลดไปประมาณร้อยละ 10 จากน้ำหนักเริ่มต้นภายในเวลา 6 เดือน ถือว่าผิดปกติ แต่ถ้าขึ้นๆ ลงๆ ไม่ถือว่าผิดปกติ) อาการเหล่านี้ไม่ได้จำเพาะกับโรคมะเร็งอย่างเดียว อาจเป็นอาการเกี่ยวข้องกับโรคอื่นด้วย เช่น ไทรอยด์ ซึ่งต้องพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม
อาการทั่วไป อ่อนเพลีย มีอาการร่วมกับการเบื่ออาหารและน้ำหนักลด (น้ำหนักลดไปประมาณร้อยละ 10 จากน้ำหนักเริ่มต้นภายในเวลา 6 เดือน ถือว่าผิดปกติ แต่ถ้าขึ้นๆ ลงๆ ไม่ถือว่าผิดปกติ) อาการเหล่านี้ไม่ได้จำเพาะกับโรคมะเร็งอย่างเดียว อาจเป็นอาการเกี่ยวข้องกับโรคอื่นด้วย เช่น ไทรอยด์ ซึ่งต้องพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม
อาการจำเพาะของแต่ละอวัยวะ
มะเร็งผิวหนัง มีแผล ที่ค่อยๆ โตขึ้นเรื่อยๆ (อาจใช้เวลาเป็นเดือน) ระยะเวลาการโตของก้อนเนื้อก็เป็นส่วนหนึ่งในการวินิจฉัยของแพทย์ด้วยเช่นกัน ผู้ป่วยในไทยเป็นมะเร็งผิวหนังไม่มากเมื่อเทียบกับชาวตะวันตก เพราะร่างกายของชาวตะวันตกไม่ค่อยมีเม็ดสี ไม่มีภูมิต้านทานต่อแสงแดด
อย่างไรก็ตามการที่มีแผลใดๆ เกิดขึ้นกับร่างกายอาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นมะเร็งเสมอไป บางครั้งแผลนั้นอาจจะเป็นแผลติดเชื้อ ซึ่งจะมีอาการ คือ มีไข้ ปวด บวม แดง ร้อน ต่างจากแผลที่เกิดจากมะเร็งที่จะโตขึ้นเรื่อยๆ และมักไม่มีอาการปวด บวม แดง ร้อน
บางครั้งมะเร็งผิวหนังอาจจะเริ่มต้นจากเป็นไฝ ฝ้า แต่มีลักษณะผิดปกติคือโตขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น มะเร็งเม็ดสี ซึ่งอาจจะมีลักษณะคล้ายปานดำ แต่ถ้าโตขึ้นเร็วผิดปกติก็น่าสงสัยว่าอาจจะเป็นมะเร็งได้
มะเร็งหู คอ จมูก พบได้ค่อนข้างบ่อยทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เพราะมีปัจจัยจากการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ แม้ปัจจัยหลักของโรคมะเร็งจะเป็นเรื่องของพันธุกรรมซึ่งเป็นการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์ แต่การสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า อาจจะเป็นปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดมะเร็งได้
มะเร็งหู คอ จมูก พบได้ค่อนข้างบ่อยทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เพราะมีปัจจัยจากการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ แม้ปัจจัยหลักของโรคมะเร็งจะเป็นเรื่องของพันธุกรรมซึ่งเป็นการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์ แต่การสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า อาจจะเป็นปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดมะเร็งได้
อาการมะเร็งหู คอ จมูก เกิดได้หลายอย่าง แต่ที่เด่นชัดคือ มีก้อนโตขึ้นในช่องปากหรือช่องจมูก ทำให้การกลืนผิดปกติ ทำให้มีน้ำหนักลดลง มีเลือดออกจากตัวก้อนมะเร็ง (จากการขากเสมหะหรือคายน้ำลาย) มีอาการเจ็บคอ บางครั้งเป็นก้อนในช่องจมูกทำให้หายใจลำบากก็มี
ทุกคนสามารถตรวจร่างกายตัวเองได้เพื่อตรวจว่ามีก้อนผิดปกติหรือไม่ เพื่อจะได้ไปพบแพทย์เพื่อได้รับการวินิจฉัยและนำไปสู่การรักษาได้ทันท่วงที
มะเร็งปอด พบได้บ่อย โดยมีสาเหตุสำคัญจากการสูบบุหรี่ ผู้ป่วยจะมีอาการไอผิดปกติ หายใจลำบาก บางคนไอเป็นเลือด อาการที่พบได้บ่อยมาก คือ น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ บางคนไม่มีอาการอื่นๆ เลยแต่น้ำหนักลดมากผิดปกติ เมื่อตรวจร่างกายและเอกซเรย์จึงพบก้อนมะเร็ง
มะเร็งปอดอาจจะถือว่าเป็นภัยเงียบที่แท้จริงของโรคมะเร็ง เพราะบางครั้งผู้ป่วยไม่มีอาการใดๆ เลย แต่เอกซเรย์จึงพบ บางครั้งแม้จะมีก้อนที่ปอดแต่ก็ไม่มีอาการแสดงที่ปอดเลย กลับไปปรากฏที่อื่น เช่น ที่กระดูก (ทำให้กดกระดูก) ที่สมอง (ทำให้มีอาการสมองบวม ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน)
มะเร็งตับ พบบ่อยในผู้ชาย อาการคือ ปวดท้อง เนื่องจากมีก้อนที่ตับ หรือมีน้ำในช่องท้อง ท้องโตขึ้น ตาเหลือง ตัวเหลือง น้ำหนักลด อ่อนเพลีย โดยผู้ที่มีประวัติเป็นตับอักเสบมาก่อนจะมีโอกาสเป็นมะเร็งตับได้มากขึ้น (บางคนมีอาการเหลืองตามมือ แขน (ยกเว้นที่ ตา) นั่นเกิดจากการกินอาหารที่มีสารบีตาแคโรทีน เช่น แครอต มากเกินไป ซึ่งไม่ได้เป็นอาการตาเหลือง ตัวเหลืองที่แท้จริงของโรคมะเร็ง) หากพบว่ามีอาการตาเหลืองเกิดขึ้น ควรจะต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีโอกาสเป็นโรคมะเร็งตับหรือไม่
มะเร็งของระบบทางเดินอาหาร มะเร็งสามารถเกิดได้ทุกตำแหน่งของระบบทางเดินอาหาร โดยตำแหน่งที่พบได้มากคือที่หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
* มะเร็งหลอดอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการกลืนลำบาก กลืนเจ็บ เพราะมีการอุดกั้นของก้อนมะเร็ง ทำให้น้ำหนักลด บางคนอาจจะมีอาเจียนเป็นเลือด
* มะเร็งกระเพาะอาหาร มีอาการปวดจุกแน่นท้อง ถ้าก้อนมะเร็งใหญ่มีขนาดใหญ่มากอาจจะทำให้เกิดการอุดกั้นของกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารไปต่อที่ลำไส้ไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยมีอาการอาเจียนภายหลังกินอาหาร และมีน้ำหนักลดตามมา
* มะเร็งลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรง อาการถ่ายผิดปกติ เช่น ถ่ายเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระลำเล็กลง บางคนอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการซีดไม่ทราบสาเหตุ แต่เมื่อตรวจแล้วพบว่ามีเลือดออกในทางเดินอาหารเนื่องจากมีก้อนที่ลำไส้ใหญ่ เป็นสาเหตุทำให้ซีดลง ร่วมกับอาการทั่วไปคืออ่อนเพลีย น้ำหนักลด
มะเร็งของระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบทางเดินปัสสาวะของคนเราประกอบด้วยอวัยวะหลายอย่าง คือ ไต 2 ข้างซ้าย-ขวา ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก แนวโน้มมะเร็งที่พบบ่อยคือ มะเร็งต่อมลูกหมาก แต่ก็พบมะเร็งชนิดอื่นๆได้ประปรายเช่นเดียวกัน
* มะเร็งไต ปัสสาวะเป็นเลือด เพราะเกี่ยวข้องกับระบบปัสสาวะ
* มะเร็งไต ปัสสาวะเป็นเลือด เพราะเกี่ยวข้องกับระบบปัสสาวะ
* มะเร็งท่อไต พบได้น้อยมาก
* มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ปัสสาวะเป็นเลือด หรือปัสสาวะขัดผิดปกติ
* มะเร็งต่อมลูกหมาก เกิดเฉพาะในผู้ชาย ผู้ป่วยจะปัสสาวะขัด เพราะต่อมลูกหมากโต (บางครั้งต่อมลูกหมากอาจโตขึ้นตามธรรมชาติเนื่องด้วยอายุที่มากขึ้น ไม่ใช่มะเร็ง) ปัจจุบันมีการตรวจเลือดหาค่า PSA เพื่อหาเชื้อมะเร็งต่อมลูกหมาก เดิมจะพบมะเร็งต่อมลูกหมากเมื่อโรคกระจายแล้ว ซึ่งมักกระจายไปที่กระดูก แต่ปัจจุบันพบน้อยลง เพราะใช้วิธีการตรวจเลือดหาค่า PSA ทำให้สามารถวินิจฉัยโรคได้ตั้งแต่อยู่ในระยะต้น
มะเร็งเต้านม โดยปกติมีการแนะนำให้ผู้หญิงตรวจเต้านมด้วยตัวเองตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ปัจจุบันพบว่าผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านมอายุน้อยลงเรื่อยๆ จากเดิมผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมจะมีอายุตั้งแต่ 40-50 ปี หรือ 60 ปีขึ้นไป แต่ล่าสุดที่พบคืออายุ 22 ปี เนื่องจากแนวโน้มที่เปลี่ยนไปเช่นนี้ การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเองจึงมีความสำคัญมาก
อาการที่ตรวจพบคือคลำพบก้อนที่เต้านม อาจมีผิวหนังบริเวณก้อนหรือบริเวณหน้าอกผิดปกติร่วมด้วยเป็นลักษณะคล้ายผิวส้ม ซึ่งมีลักษณะขรุขระ มีรอยบุ๋ม แสดงว่าโรคเริ่มลุกลามแล้ว หรืออาจมีเลือดหรือหนองออกจากหัวนม มีแผลแตกเป็นหนองที่เต้านม เหล่านี้เป็นอาการไม่ปกติ และสงสัยว่าอาจจะเป็นมะเร็ง
การตรวจอีกวิธีหนึ่ง คือเอกซเรย์เต้านมที่เรียกว่า การตรวจแมมโมแกรม ซึ่งทำให้พบและรักษาโรคได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และมีโอกาสหายจากโรคได้มากขึ้น โดยแนะนำในสตรีที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปให้ตรวจปีละ 1 ครั้ง
มะเร็งของระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี
* มะเร็งปากมดลูก มะเร็งชนิดนี้ไม่สามารถตรวจด้วยตัวเองได้ ต้องได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์เท่านั้น อาการที่พบคือ เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดหลังจากมีเพศสัมพันธ์ บางคนมีก้อนขนาดใหญ่มากก็จะปวดท้องน้อย หรือบางคนอาจมีอาการถ่ายผิดปกติ (ปัสสาวะหรืออุจจาระผิดปกติ) เนื่องจากก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่มากและอาจจะลุกลามไปที่กระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ทำให้มีเลือดออกจากกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ได้
* มะเร็งรังไข่ ผู้ที่เป็นมะเร็งรังไข่อาจจะคลำพบก้อนที่ท้อง บางคนคิดว่าตัวเองอ้วน แต่ถ้าคลำที่ท้องแล้วรู้สึกว่าท้องใหญ่ขึ้นและแน่นมากถือว่าไม่ปกติ เพราะอาจจะเกิดจากมีก้อนและน้ำเกิดขึ้นในช่องท้อง
* มะเร็งมดลูก มีอาการเลือดออกผิดปกติ ส่วนใหญ่มักจะเกิดในผู้ที่อยู่ในวัยหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว
ส่วนใหญ่มะเร็งในระบบสืบพันธุ์สตรีจะมีอาการเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ยกเว้นมะเร็งรังไข่ที่มีอาการแน่นท้อง ท้องอืด คลำก้อนได้
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งมักทำในผู้ที่ยังไม่ได้เป็นมะเร็งแต่ตรวจเพื่อเช็กล่วงหน้า มีด้วยกันหลายแบบ ตามขั้นตอนดังนี้
1. การตรวจร่างกายทั่วไป เหมือนการตรวจสุขภาพประจำปี มีการฟังปอดว่ามีเสียงผิดปกติหรือไม่ ตรวจลำคอเพื่อหามะเร็งที่ศีรษะและลำคอซึ่งจะมีก้อนผิดปกติจากในช่องปากและลำคอ คลำต่อมน้ำเหลือง ตรวจหาก้อนที่เต้านม ตรวจทางทวารหนัก เพื่อค้นหามะเร็งที่ลำไส้ตรง หรือที่ต่อมลูกหมาก สำหรับผู้หญิงจะมีการตรวจเพิ่มขึ้น คือการตรวจภายในร่วมกับการทำ แพ็ปสเมียร์ ซึ่งเป็นการตรวจหาเซลล์ผิดปกติที่หลุดมาจากปากมดลูกมาอยู่ในช่องคลอด แพทย์จะป้ายเซลล์บริเวณนั้นไปตรวจหาความผิดปกติ
2. ตรวจเลือด เพื่อดูความเข้มข้นของเลือดทั่วๆ ไปว่าซีดผิดปกติหรือไม่ มีเลือดออกบริเวณไหนบ้าง หรือไขกระดูกไม่ยอมสร้างเม็ดเลือด
3. ตรวจการทำงานของตับและไต ว่าทำงานเป็นปกติดีหรือไม่
4. การตรวจเลือดหาค่า PSA เป็นวิธีที่แพทย์คิดว่ามีความจำเพาะในการวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้สูง เมื่อเปรียบเทียบกับการตรวจเลือดหาค่าอื่นๆ ที่อาจจะไม่จำเพาะต่อการวินิจฉัยโรคมะเร็งโดยอาจจะเกิดทั้งผลบวกลวงหรือผลลบลวงได้สูง
5. การตรวจปัสสาวะ เพื่อดูว่ามีเลือดออกในทางเดินปัสสาวะหรือไม่
6. การตรวจคัดกรองอื่นๆ เช่น การเอกซเรย์ปอดปีละ 1 ครั้ง การเอกซเรย์เต้านมหรือแมมโมแกรม ที่แนะนำให้ทำในผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไปปีละ 1 ครั้ง
7. การตรวจพิเศษเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น
* การส่องกล้องทางเดินอาหารและกระเพาะอาหาร (การส่องกล้องกระเพาะอาหารในประเทศไทยยังไม่ค่อยได้ทำมากนักเพราะยังเจอมะเร็งกระเพาะอาหารน้อย มักจะทำเฉพาะในคนที่มีอาการน่าสงสัย) การส่องกล้องตรวจทางทวารหนัก เพื่อตรวจหาความผิดปกติของลำไส้ตรงหรือลำไส้ใหญ่ ซึ่งแนะนำให้ทำในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งหากตรวจครั้งแรกแล้วปกติ จะตรวจอีกครั้งคือ 5 ปีหรือ 10 ปีหลังจากนั้น
* การส่องกล้องทางเดินอาหารและกระเพาะอาหาร (การส่องกล้องกระเพาะอาหารในประเทศไทยยังไม่ค่อยได้ทำมากนักเพราะยังเจอมะเร็งกระเพาะอาหารน้อย มักจะทำเฉพาะในคนที่มีอาการน่าสงสัย) การส่องกล้องตรวจทางทวารหนัก เพื่อตรวจหาความผิดปกติของลำไส้ตรงหรือลำไส้ใหญ่ ซึ่งแนะนำให้ทำในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งหากตรวจครั้งแรกแล้วปกติ จะตรวจอีกครั้งคือ 5 ปีหรือ 10 ปีหลังจากนั้น
* การกลืนแป้งและเอกซเรย์ตรวจระบบทางเดินอาหาร เพื่อตรวจว่ามีรอยโรคผิดปกติเกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหารหรือไม่ และถ้าพบว่ามีตำแหน่งที่น่าสงสัยอาจจะต้องตรวจเพิ่มเติมด้วยการส่องกล้องเพื่อนำชิ้นเนื้อมาตรวจวินิจฉัยต่อไป โดยทั่วไปอาจใช้วิธีส่องกล้อง หรือกลืนแป้ง อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แต่ในคนที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งก็อาจต้องใช้ทั้ง 2 วิธี
การตรวจเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัย
การตรวจเพิ่มเติมเป็นการตรวจหลังจากพบแพทย์แล้วพบก้อนเนื้อ ทั้งนี้เพื่อการวินิจฉัยที่แน่นอนว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ การตรวจดังกล่าว ได้แก่
การตรวจทางรังสีวินิจฉัย หรือเอกซเรย์ ซึ่งมีการเอกซเรย์แบบธรรมดา เช่น เอกซเรย์ปอด หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography-CT scan)
การตรวจ MRI (Magnetic Resonance Imaging) หรือภาพรังสีคลื่นแม่เหล็ก ภาพที่เกิดขึ้นเกิดจากคลื่นแม่เหล็กพลังงานสูง
การตรวจแบบ เพทสแกน (PET Scan) วิธีนี้มีค่าใช้จ่ายในการตรวจสูง จึงมักจะทำเพทสแกนเมื่อรู้ว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งแล้ว เพื่อดูว่ามีการกระจายของโรคไปที่ร่างกายส่วนอื่นหรือไม่ (เพราะเพทสแกนเป็นการตรวจดูทั้งร่างกาย)
การตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา เป็นการตรวจเพื่อต้องการยืนยันให้ชัดเจนว่าเป็นมะเร็งแน่นอน เช่น หากมีก้อนที่คอก็ตัดตัวอย่างชิ้นเนื้อที่คอไปตรวจ มีก้อนที่ต่อมลูกหมากก็ตัดตัวอย่างชิ้นเนื้อที่ต่อมลูกหมากไปตรวจ ซึ่งผู้ที่จะทำหน้าที่ตรงนี้คือแพทย์ทางพยาธิวิทยา
การรักษาโรคมะเร็ง
ปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งเป็นการรักษาร่วมกันระหว่างศัลยแพทย์ แพทย์ด้านเคมีบำบัด และแพทย์ฉายแสง
* การผ่าตัด
สามารถใช้การผ่าตัดได้กับมะเร็งทุกชนิดแต่ต้องดูความเหมาะสม เช่น ระยะของโรคมากเกินกว่าจะผ่าตัดหรือไม่ อวัยวะบริเวณนั้นสามารถผ่าตัดได้หรือไม่
มะเร็งที่มักจะเลือกการผ่าตัดเป็นอันดับแรกคือ มะเร็งตับ มะเร็งระบบทางเดินอาหาร มะเร็งช่องปากระยะต้น มะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก มะเร็งต่อมลูกหมากระยะต้น เป็นต้น
สามารถใช้การผ่าตัดได้กับมะเร็งทุกชนิดแต่ต้องดูความเหมาะสม เช่น ระยะของโรคมากเกินกว่าจะผ่าตัดหรือไม่ อวัยวะบริเวณนั้นสามารถผ่าตัดได้หรือไม่
มะเร็งที่มักจะเลือกการผ่าตัดเป็นอันดับแรกคือ มะเร็งตับ มะเร็งระบบทางเดินอาหาร มะเร็งช่องปากระยะต้น มะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก มะเร็งต่อมลูกหมากระยะต้น เป็นต้น
* การให้ยาเคมีบำบัด
ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัดตามหลังการผ่าตัดนั้น จะมีวัตถุประสงค์เพื่อลดโอกาสของการกระจายโรคไปที่อื่น เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่
โรคมะเร็งบางชนิดที่มีการตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดได้ดี ก็อาจจะได้รับยาเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียว เช่น มะเร็งเม็ดเลือด
ในบางกรณีมีการให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี เพื่อเพิ่มผลการรักษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น มะเร็งศีรษะและลำคอ
ปกติแล้วการให้ยาเคมีบำบัดส่วนใหญ่จะเป็นยาฉีดที่จะให้ทางหลอดเลือดดำ เช่นที่แขน อาจมีการให้ยาเคมีบำบัดทางอุปกรณ์พิเศษที่ต่อเข้าสู่เส้นเลือดดำใหญ่ได้โดยตรงเพื่อลดปัญหาในการหาเส้นเลือด เนื่องจากการให้ยาเคมีบำบัดมักจะต้องให้หลายครั้ง แต่ต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งพยาบาลเฉพาะทางจะสามารถให้คำแนะนำในการดูแลด้วยตัวเองที่บ้านได้
ผู้ป่วยที่รับยาเคมีบำบัดต้องพบแพทย์ตามนัด เพราะยาเคมีบำบัดมีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วง (อาการผมร่วงมีเฉพาะในยาบางชนิดและในคนไข้บางราย) กดการทำงานของไขกระดูก ทำให้เม็ดเลือดต่างๆ ต่ำลง ไม่ว่าจะเป็นเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวหรือเกล็ดเลือด จึงต้องพบแพทย์ตามนัดเพื่อเจาะเลือดดูว่าเม็ดเลือดยังปกติอยู่หรือไม่ หรือถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้สูง อ่อนเพลียมาก คลื่นไส้ อาเจียน ควรพบแพทย์ก่อนนัด
ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัดตามหลังการผ่าตัดนั้น จะมีวัตถุประสงค์เพื่อลดโอกาสของการกระจายโรคไปที่อื่น เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่
โรคมะเร็งบางชนิดที่มีการตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดได้ดี ก็อาจจะได้รับยาเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียว เช่น มะเร็งเม็ดเลือด
ในบางกรณีมีการให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี เพื่อเพิ่มผลการรักษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น มะเร็งศีรษะและลำคอ
ปกติแล้วการให้ยาเคมีบำบัดส่วนใหญ่จะเป็นยาฉีดที่จะให้ทางหลอดเลือดดำ เช่นที่แขน อาจมีการให้ยาเคมีบำบัดทางอุปกรณ์พิเศษที่ต่อเข้าสู่เส้นเลือดดำใหญ่ได้โดยตรงเพื่อลดปัญหาในการหาเส้นเลือด เนื่องจากการให้ยาเคมีบำบัดมักจะต้องให้หลายครั้ง แต่ต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งพยาบาลเฉพาะทางจะสามารถให้คำแนะนำในการดูแลด้วยตัวเองที่บ้านได้
ผู้ป่วยที่รับยาเคมีบำบัดต้องพบแพทย์ตามนัด เพราะยาเคมีบำบัดมีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วง (อาการผมร่วงมีเฉพาะในยาบางชนิดและในคนไข้บางราย) กดการทำงานของไขกระดูก ทำให้เม็ดเลือดต่างๆ ต่ำลง ไม่ว่าจะเป็นเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวหรือเกล็ดเลือด จึงต้องพบแพทย์ตามนัดเพื่อเจาะเลือดดูว่าเม็ดเลือดยังปกติอยู่หรือไม่ หรือถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้สูง อ่อนเพลียมาก คลื่นไส้ อาเจียน ควรพบแพทย์ก่อนนัด
* การฉายรังสี
เป็นการรักษามะเร็งด้วยรังสี ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการฉายรังสีจากภายนอก โดยอาจจะเป็นการฉายรังสีเพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับวิธีอื่นเช่นการผ่าตัดหรือการให้ยาเคมีบำบัด
มะเร็งที่ใช้การรักษาด้วยการฉายรังสีเป็นหลัก เช่น
- มะเร็งโพรงหลังจมูก ซึ่งใช้การผ่าตัดไม่ได้
- มะเร็งปากมดลูก บางครั้งก้อนใหญ่มากก็ใช้การผ่าตัดไม่ได้
- มะเร็งต่อมลูกหมาก เรียกว่าเป็นมะเร็งทางเลือก เพราะสามารถใช้การรักษาได้หลายวิธี ได้แก่การผ่าตัด (ปัจจุบันมีการผ่าตัดโดยหุ่นยนต์ที่เรียกว่า Robotic Surgery) หรือการฉายรังสี
- มะเร็งอื่นๆ ในระยะลุกลาม ซึ่งหากก้อนใหญ่มากก็ไม่สามารถให้ผ่าตัดได้ การฉายแสงจะช่วยลดอาการที่เกิดจากโรคได้แม้ว่าจะไม่หายจากโรคก็ตาม
เป็นการรักษามะเร็งด้วยรังสี ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการฉายรังสีจากภายนอก โดยอาจจะเป็นการฉายรังสีเพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับวิธีอื่นเช่นการผ่าตัดหรือการให้ยาเคมีบำบัด
มะเร็งที่ใช้การรักษาด้วยการฉายรังสีเป็นหลัก เช่น
- มะเร็งโพรงหลังจมูก ซึ่งใช้การผ่าตัดไม่ได้
- มะเร็งปากมดลูก บางครั้งก้อนใหญ่มากก็ใช้การผ่าตัดไม่ได้
- มะเร็งต่อมลูกหมาก เรียกว่าเป็นมะเร็งทางเลือก เพราะสามารถใช้การรักษาได้หลายวิธี ได้แก่การผ่าตัด (ปัจจุบันมีการผ่าตัดโดยหุ่นยนต์ที่เรียกว่า Robotic Surgery) หรือการฉายรังสี
- มะเร็งอื่นๆ ในระยะลุกลาม ซึ่งหากก้อนใหญ่มากก็ไม่สามารถให้ผ่าตัดได้ การฉายแสงจะช่วยลดอาการที่เกิดจากโรคได้แม้ว่าจะไม่หายจากโรคก็ตาม
การป้องกันโรค
หลายคนเข้าใจว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งมีอาหารต้องห้ามที่กินไม่ได้ ซึ่งจริงๆ แล้วสามารถกินได้ทุกอย่าง ไม่มีอาหารอะไรห้ามเป็นพิเศษ แต่ต้องกินอย่างสมดุล ถ้ากินเนื้อสัตว์อย่างเดียวไม่กินผักผลไม้เลย ก็มีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ แต่หากกินเฉพาะผักผลไม้ ไม่กินเนื้อสัตว์เลยก็ทำให้ขาดสารอาหารโดยเฉพาะโปรตีน ทุกอย่างจึงต้องสมดุล
การรักษามะเร็งไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัด ให้ยาเคมีบำบัด หรือการฉายแสงนั้น จะมีเนื้อเยื่อที่สูญเสียไปกับการรักษา หากไม่กินเนื้อสัตว์เลยก็ไม่มีโปรตีนที่จะมาทดแทนเพื่อซ่อมแซมส่วนที่เสียไป ทำให้ฟื้นตัวภายหลังการรักษาได้ช้าลง
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการฉายรังสี
การฉายแสงส่วนใหญ่เป็นการฉายรังสีจากภายนอก หมายความว่า ไม่ได้มีการฝังอะไรเข้าไปในตัวคนไข้ หยุดฉายแสงเมื่อไหร่แสงก็หยุดเมื่อนั้น ไม่มีการกระจายรังสีไปให้คนอื่น เป็นการรักษาเฉพาะที่ เช่น ถ้าฉายช่องคอ ก็เป็นการรักษาและมีผลเฉพาะที่ช่องคอ ไม่ได้มีผลต่อกระดูก หรืออวัยวะบริเวณอื่นไปด้วย
การฉายแสงไม่ได้ทำให้โรคกระจายไปบริเวณอื่นอย่างที่หลายคนเข้าใจ ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีการกระจายของเชื้อมะเร็งไปที่อื่นอยู่แล้วก่อนจะได้รับการฉายแสง เมื่อมารับการฉายแสงซึ่งเป็นการรักษาเฉพาะที่ ก็คงไม่สามารถทำให้มะเร็งที่กระจายไปนอกพื้นที่ที่ฉายแสงนั้นแล้วนั้นหายไปหมดได้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการฉายแสงมีผลเช่นเดียวกับการผ่าตัด คือ ทำที่บริเวณไหนก็มีผลเฉพาะบริเวณนั้น แต่ยาเคมีบำบัดซึ่งเป็นยาฉีด เป็นการรักษาทั้งตัวเนื่องจากมีการกระจายของยาไปตามกระแสโลหิต
การฉายแสงต้องเป็นการรักษาต่อเนื่อง ถ้าเป็นการรักษาเพื่อให้หายขาดจากโรค จะใช้เวลาประมาณ 5-7 สัปดาห์ แต่ละวันใช้เวลาในการฉายแสงไม่เกิน 15-20 นาที ซึ่งหมายความว่าผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องนอนที่โรงพยาบาล แต่จะต้องมาโรงพยาบาลทุกวัน (เว้นเสาร์-อาทิตย์)เพื่อรับการฉายแสง ติดต่อกันเป็นเวลา 7 สัปดาห์ แต่หากเป็นการรักษาเพื่อลดอาการก็ใช้วิธีร่นระยะเวลาลงอาจจะเหลือแค่ 2สัปดาห์ และลดปริมาณแสงลง
วิธีปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคมะเร็ง
* เลี่ยงอาหารก่อมะเร็ง เช่น อาหารปิ้ง ย่าง เหล้า บุหรี่ ถั่ว (สารอะฟลาท็อกซินในถั่วเพิ่มโอกาสของการเป็นมะเร็งตับ) อาหารแห้ง เช่น ถั่วกระจก ขนมตุ๊บตั๊บ น้ำมัน ถั่วลิสง และในพริกแห้ง
* การออกกำลังกาย (ที่เหมาะสม)
* การตรวจสุขภาพประจำปี(เช่น ตรวจร่างกายทั่วไป เอกซเรย์ปอด ตรวจเลือด ตรวจหา PSA หรือส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ตรวจภายใน ตรวจแพ็บสเมียร์หามะเร็งปากมดลูก ตรวจแมมโมแกรม ฯลฯ)
* อาหารเสริม ปัจจุบันอาหารเสริมมีด้วยกันมากมายหลายชนิด ซึ่งไม่สามารถระบุชัดเจนลงไปได้ว่าช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้จริงหรือไม่
* ตรวจเต้านมด้วยตนเอง
- ผู้หญิงอายุ 20 ปีขึ้นไปควรตรวจเต้านมด้วยตนเอง ช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการตรวจคือ หลังจากหมดประจำเดือนไปแล้วประมาณ 10 วันเพราะเป็นช่วงที่เต้านมจะไม่คัดตึง วิธีการตรวจอาจใช้ท่านอนหรือท่านั่งก็ได้ เพื่อคลำว่ามีก้อนผิดปกติหรือไม่
- ผู้หญิงอายุ 20 ปีขึ้นไปควรตรวจเต้านมด้วยตนเอง ช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการตรวจคือ หลังจากหมดประจำเดือนไปแล้วประมาณ 10 วันเพราะเป็นช่วงที่เต้านมจะไม่คัดตึง วิธีการตรวจอาจใช้ท่านอนหรือท่านั่งก็ได้ เพื่อคลำว่ามีก้อนผิดปกติหรือไม่
- ผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไปควรตรวจแมมโมแกรมปีละครั้ง แต่หากสามารถตรวจเต้านมด้วยตัวเองได้อย่างสม่ำเสมอจะให้ผลดีมากกว่า เพราะการตรวจด้วยตนเองสามารถตรวจได้บ่อย แต่การตรวจด้วยแมมโมแกรมนั้นได้แค่ปีละครั้ง มะเร็งบางชนิดโตเร็ว (อาจก่อน 1 ปี) หากมีการตรวจด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอแล้วก็จะพบก้อนเนื้อได้ก่อนและมีโอกาสรักษาเพื่อให้หายได้ก่อน
* การตรวจหามะเร็งปากมดลูก ในผู้หญิงอายุ 30 ปีขึ้นไปแนะนำให้ตรวจแพบสเมียร์ปีละ 1 ครั้ง หรือภายใน 3 ปีหลังการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก
- ปัจจุบันพบว่าสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปากมดลูก คือ การติดเชื้อไวรัส HPV ชนิด 16 และ 18 มีการพัฒนาการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูก โดยการฉีดต้านเชื้อ HPV 16, 18
- ในผู้หญิงอายุน้อยกว่า 26-45 ปี จะได้รับการแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกฉีดทั้งหมด 3 เข็ม โดยเข็มที่สองห่างจากครั้งแรก 2 เดือน และเข็มที่สามห่างจากครั้งที่สอง 6 เดือน จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่าวัคซีนตัวนี้สามารถสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกได้ยาวนานถึงประมาณอย่างน้อย 5 ปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น