บาททะยัก เป็นโรคอันตรายร้ายแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งพบได้เป็นครั้งคราวในคนที่มีบาดแผลตามร่างกายแล้วขาดดารดูแลอย่างถูกต้อง เมื่อเกิดบาดแผลหากรู้จักดูแลรักษาแต่เนิ่นๆ และมีการฉีดยาป้องกันตามจำเป็น ก็มักจะปลอดภัยจากการถูกโรคนี้เล่นงานได้
ชื่อภาษาไทย บาดทะยัก
ชื่อภาษาอังกฤษ Tetanus
สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อบาดทะยัก ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า “คลอสตริเดียมเตตานิ (Clostridium tetani)” เชื้อนี้จะอยู่ตามดินทรายและมูลสัตว์ สามารถมีชีวิตอยู่นานเป็นปีๆ และเจริญได้ดีในที่ที่ไม่มีออกซิเจน เมื่อคนเราเกิดบาดแผลที่แปดเปื้อนถูกเชื้อโรคนี้ เช่น เปื้อนถูกดินทรายหรือมูลสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบาดแผลที่ปากแผลแคบแต่ลึก เช่น ตะปูตำ ลวดหรือหนามตำเกี่ยว ไม้เสียบแทง เป็นต้น (ซึ่งมีออกซิเจนน้อย เหมาะสำหรับการเจริญของเชื้อบากทะยัก) เชื้อโรคก็จะกระจายเข้าสู่ร่างกายแล้วปล่อยสารพิษ (toxin) ออกมาทำลายระบบประสาท ทำให้เกิดอาการของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย
ระยะฟักตัวของโรค (นับจากเริ่มติดเชื้อจนมีอาการปรากฏ) ๕ วัน-๑๕วัน (พบมากระหว่าง ๖-๑๕ วัน) ระยะฟักตัวยิ่งสั้น โรคจะยิ่งรุนแรงและอันตราย
อาการ แรกเริ่มที่พบ ก็คือ อาการขากรรไกรแข็งเนื่องจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อบริเวณนี้ คนไข้จะอ้าปากลำบาก กลืนลำบาก ทำท่าเหมือนยิ้มแสยะอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังมีอาการไข้ (ตัวร้อน) ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดศีรษะ เจ็บคอ กระสับกระส่ายร่วมด้วย ในทารกแรกเกิดที่มีการติดเชื้อบาดทะยักทางสะดือ (เช่น การใช้ไม้รวกหรือกรรไกรที่ไม่สะอาดตัดสายสะดือตามแบบโบราณ การรักษาแผลสะดือไม่ถูกต้อง) ซึ่งโบราณ เรียกว่า “ตะพั้น” หรือ “สะพั้น” แรกเริ่มมีกมีอาการร้องกวน ไม่ยอมดูดนมและอ้าปากไม่ได้
ต่อมากล้ามเนื้อตามแขน ขา หน้าท้อง หลัง และส่วนต่างๆ ของร่างกายจะมีอาการหดตัว เกร็งแข็งและปวด ทำให้มีอาการคอแข็ง หลังแอ่น คนไข้จะมีอาการชักกระตุ้กของแขน ขา และกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายเป็นพักๆเวลาสัมผัสถูก หรือเวลาถูกแสงสว่างหรือเสียงดังๆ ขณะชัก คนไข้อาจหายใจลำบาก พูดและร้องไม่ออก และอาจหยุดหายใจได้ โดยทั่วไปคนไข้มักจะมีความรู้สึกตัวดี และรู้สึกเจ็บปวดเวลาชัก ถ้ามีอาการชักเกร็งติดๆกันนานๆ ก็อาจหมดสติได้ คนไข้ส่วนมากจะพบ มีบาดแผลอักเสบร่วมด้วย ในทารกแรกเกิดมักพบว่ามีสะดืออักเสบ แต่บางรายก็ไม่พบบาดแผลชัดเจนก็ได้
การแยกโรค อาการมีไข้ร่วมกับอาการชักกระตุก นอกจากบาดทะยักแล้ว ยังอาจมีสาเหตุอื่น เช่น
ชื่อภาษาไทย บาดทะยัก
ชื่อภาษาอังกฤษ Tetanus
สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อบาดทะยัก ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า “คลอสตริเดียมเตตานิ (Clostridium tetani)” เชื้อนี้จะอยู่ตามดินทรายและมูลสัตว์ สามารถมีชีวิตอยู่นานเป็นปีๆ และเจริญได้ดีในที่ที่ไม่มีออกซิเจน เมื่อคนเราเกิดบาดแผลที่แปดเปื้อนถูกเชื้อโรคนี้ เช่น เปื้อนถูกดินทรายหรือมูลสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบาดแผลที่ปากแผลแคบแต่ลึก เช่น ตะปูตำ ลวดหรือหนามตำเกี่ยว ไม้เสียบแทง เป็นต้น (ซึ่งมีออกซิเจนน้อย เหมาะสำหรับการเจริญของเชื้อบากทะยัก) เชื้อโรคก็จะกระจายเข้าสู่ร่างกายแล้วปล่อยสารพิษ (toxin) ออกมาทำลายระบบประสาท ทำให้เกิดอาการของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย
ระยะฟักตัวของโรค (นับจากเริ่มติดเชื้อจนมีอาการปรากฏ) ๕ วัน-๑๕วัน (พบมากระหว่าง ๖-๑๕ วัน) ระยะฟักตัวยิ่งสั้น โรคจะยิ่งรุนแรงและอันตราย
อาการ แรกเริ่มที่พบ ก็คือ อาการขากรรไกรแข็งเนื่องจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อบริเวณนี้ คนไข้จะอ้าปากลำบาก กลืนลำบาก ทำท่าเหมือนยิ้มแสยะอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังมีอาการไข้ (ตัวร้อน) ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดศีรษะ เจ็บคอ กระสับกระส่ายร่วมด้วย ในทารกแรกเกิดที่มีการติดเชื้อบาดทะยักทางสะดือ (เช่น การใช้ไม้รวกหรือกรรไกรที่ไม่สะอาดตัดสายสะดือตามแบบโบราณ การรักษาแผลสะดือไม่ถูกต้อง) ซึ่งโบราณ เรียกว่า “ตะพั้น” หรือ “สะพั้น” แรกเริ่มมีกมีอาการร้องกวน ไม่ยอมดูดนมและอ้าปากไม่ได้
ต่อมากล้ามเนื้อตามแขน ขา หน้าท้อง หลัง และส่วนต่างๆ ของร่างกายจะมีอาการหดตัว เกร็งแข็งและปวด ทำให้มีอาการคอแข็ง หลังแอ่น คนไข้จะมีอาการชักกระตุ้กของแขน ขา และกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายเป็นพักๆเวลาสัมผัสถูก หรือเวลาถูกแสงสว่างหรือเสียงดังๆ ขณะชัก คนไข้อาจหายใจลำบาก พูดและร้องไม่ออก และอาจหยุดหายใจได้ โดยทั่วไปคนไข้มักจะมีความรู้สึกตัวดี และรู้สึกเจ็บปวดเวลาชัก ถ้ามีอาการชักเกร็งติดๆกันนานๆ ก็อาจหมดสติได้ คนไข้ส่วนมากจะพบ มีบาดแผลอักเสบร่วมด้วย ในทารกแรกเกิดมักพบว่ามีสะดืออักเสบ แต่บางรายก็ไม่พบบาดแผลชัดเจนก็ได้
การแยกโรค อาการมีไข้ร่วมกับอาการชักกระตุก นอกจากบาดทะยักแล้ว ยังอาจมีสาเหตุอื่น เช่น
๑. สมองอักเสบ จะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะมาก อาเจียนบ่อย ชัก ซึม เพ้อคลั่ง ไม่รู้สึกตัว
๒. เยื่อหุ้มสมองอักเสบ จะมีอาการแบบเดียวกับสมองอักเสบ และตรวจพบว่าก้มคอไม่ลง (คอแข็ง)
๓. มาลาเรียขึ้นสมอง จะมีอาการแบบเดียวกับสมองอักเสบ และมีประวัติสัมผัสเชื้อมาลาเรีย เช่น เดินทางเข้าไปในเขตป่าเขา หรือได้รับการถ่ายเลือดมาก่อน
๔. พิษสุนัขบ้า จะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย กลัวลม กลัวน้ำ ชัก หมดสติ มักมีประวัติถูกสุนัข แมว หรือสัตว์ป่ากัดหรือข่วนมาก่อน
ส่วนอาการขากรรไกรแข็ง ซึ่งมักพบเป็นอาการแรกเริ่มของบาดทะยักนั้น ก็อาจมีสาเหตุจากการเกิดฝีที่ทอลซิลหรือในคอหอย หรือเกิดจากผลข้างเคียงของยาบางชนิด (เช่น ยาแก็อาเจียน ยาแก็วิงเวียน หรือยาทางจิตประสาท) อย่างไรก็ตาม หากพบอาการผิดปกติดังกล่าวข้างต้น ก็ควรจะไปปรึกษาแพทย์โดยเร็ว
การวินิจฉัย มักจะวินิจฉัยจากอาการแสดง ได้แก่ ไข้ ขากรรไกรแข็ง ชักเกร็งร่วมกับการตรวจจะพบบาดแผลอักเสบตามร่างกาย แพทย์อาจทำการเจาะหลัง เพื่อแยกโรคทางสมอง (สมองอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ) อาจตรวจเลือดเพื่อแยกโรคมาลาเรียขึ้นสมอง และอาจนำหนองที่บาดแผลไปเพาะหาเชื้อบาดทะยัก
การดูแลตนเอง หากมีอาการสงสัยว่าอาจเป็นโรคนี้ ควรไปปรึกษาแพทย์โดยเร็ว และรับการรักษาอย่างจริงจัง จากทางโรงพยาบาลจนกว่าจะปลอดภัย
การรักษา แพทย์จะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล (มักจะรับไว้ในห้องบำบัดพิเศษหรือไอซียู) อาจต้องเจาะคอและใช้เครื่องช่วยหายใจ ให้ยาแก้ชัก ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อบาดทะยัก (เช่น เพนิซิลลิน) ยาต้านพิษบาดทะยัก (human tetanus immune globulin) คนไข้มักจะต้องพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลนานเป็นสัปดาห์ๆหรือเป็นแรมเดือน)
ภาวะแทรกซ้อน อาจพบอาการขาดออกซิเจน ขณะชัก อาการขาดอาหาร เพราะกลืนไม่ได้ ถ่ายอุจจาระและปัสสาวะไม่ได้ เนื่องจากการเกร็งตัวของหูรูด อาจเกิดโรคปอดอักเสบ (ปอดบวม) แทรกซ้อน ในรายที่ชักรุนแรง อาจมีกระดูกหลังหัก ในรายที่ปล่อยให้โรคลุกลามรุนแรง อาจหยุดหายใจและหัวใจวายตายได้
การดำเนินโรค ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันกาล คนไข้มักจะเสียชีวิต จากภาวะหยุดหายใจ ภายในเวลาไม่นาน (อาจเป็นสัปดาห์) ส่วนผู้ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ผลการรักษาขึ้นกับความรุนแรงของโรค ถ้าได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม (มีเพียงอาการขากรรไกรแข็ง) ก็มักจะมีโอกาสหายขาดได้ แต่ถ้าปล่อยไว้จนมีอาการรุนแรง (เช่น หลังแอ่น ชักเกร็งทั้งตัวรุนแรง)โอกาสรอดก็มีน้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพบในทารกแรกเกิดหรือคนสูงอายุ โดยเฉลี่ย คนไข้บาดทะยักมีโอกาสรักษาให้รอดชีวินได้ประมาณร้อยละ ๕๐
การป้องกัน โรคนี้แม้ว่าจะมีความร้ายแรง แต่ก็สามารถป้องกันได้ง่ายๆ ด้วยการฉีดวัคซีน ซึ่งมีหนทางปฏิบัติ ดังนี้
๑. เด็กทุกคนควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก โดยการฉีดวัคซีนรวมป้องกันคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน (วัคซีน DTP) รวม ๕ เข็ม เมื่ออายุ ๒ เดือน, ๔ เดือน, ๖ เดือน, ๑ ขวบครึ่ง, ๒ ขวบ และ ๔-๕ ขวบ หลังจากนั้นควรฉีดกระตุ้นทุกๆ ๑๐ ปี
๒. หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักมาก่อน ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้รวม ๓ ครั้ง โดยเริ่มฉีดเข็มแรกเมื่อฝากครรภ์ครั้งแรก เข็มที่ ๒ ห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย ๑ เดือน และเข็มที่ ๓ ห่างจากเข็มที่ ๒ อย่างน้อย ๖ เดือน (ถ้าฉีดไม่ทันขณะตั้งครรภ์ ก็ฉีดหลังคลอด)
ถ้าหญิงตั้งครรภ์เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคนี้มาแล้ว ๑ ครั้ง ควรให้อีก ๒ ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย ๑ เดือน ในระหว่างตั้งครรภ์
ถ้าหญิงตั้งครรภ์เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคนี้ครบชุด (๓ ครั้ง) มาแล้วเกิน ๕ ปี ให้ฉีดกระตุ้นอีกเพียง ๑ ครั้ง แต่ถ้าเคยฉีดครบชุดมาแล้วไม่เกิน ๕ ปี ก็ไม่ต้องฉีดกระตุ้น
๓. ควรแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์คลอดกับบุคลากรที่รู้จักรักษาความสะอาดในการทำคลอด ไม่ใช้ไม้รวก ตับจาก มีดหรือกรรไกร ที่ไม่ได้ทำการฆ่าเชื้อตัดสายสะดือเด็ก นอกจากนี้ควรแนะนำให้รู้จักทำความสะอาดสะดือเด็ก ไม่บ้วนน้ำหมาก น้ำลายลงบนสะดือเด็ก
๔. เมื่อมีบาดแผลตะปูตำ หนามตำ สัตย์กัด ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือบาดแผลสกปรก ควรชะล้างบาดแผลด้วยน้ำสะอาดกับสบู่ทันที
สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักมาก่อน ถ้าบาดแผลสกปรกหรือแผลใหญ่ ควรแนะนำให้ผู้ป่วยรับการฉีดอิมมูนโกลบูลินต้านพิษบาดทะยัก (human tetanus immune globulin) หรือเซรุ่มแก็พิษบาดทะยัก (tetanus antitoxin) ยาชนิดหลังนี้ทำจากเซรุ่มม้า อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ ทางที่ดีควรฉีดในสถานพยาบาลที่มีอุปกรณ์ช่วยชีวิตเตรียมไว้พร้อม
ส่วนผู้ที่เคยฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักมาก่อน ควรฉีดกระตุ้นซ้ำอีก ๑ เข็ม ไม่ต้องฉีดอิมมูนโกลบูลินหรือเซรุ่มแก็พิษบาดทะยัก แต่ถ้าเพิ่งได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักภายใน ๕ ปี ก็ไม่ต้องฉีดกระตุ้น
การดูแลตนเอง หากมีอาการสงสัยว่าอาจเป็นโรคนี้ ควรไปปรึกษาแพทย์โดยเร็ว และรับการรักษาอย่างจริงจัง จากทางโรงพยาบาลจนกว่าจะปลอดภัย
การรักษา แพทย์จะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล (มักจะรับไว้ในห้องบำบัดพิเศษหรือไอซียู) อาจต้องเจาะคอและใช้เครื่องช่วยหายใจ ให้ยาแก้ชัก ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อบาดทะยัก (เช่น เพนิซิลลิน) ยาต้านพิษบาดทะยัก (human tetanus immune globulin) คนไข้มักจะต้องพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลนานเป็นสัปดาห์ๆหรือเป็นแรมเดือน)
ภาวะแทรกซ้อน อาจพบอาการขาดออกซิเจน ขณะชัก อาการขาดอาหาร เพราะกลืนไม่ได้ ถ่ายอุจจาระและปัสสาวะไม่ได้ เนื่องจากการเกร็งตัวของหูรูด อาจเกิดโรคปอดอักเสบ (ปอดบวม) แทรกซ้อน ในรายที่ชักรุนแรง อาจมีกระดูกหลังหัก ในรายที่ปล่อยให้โรคลุกลามรุนแรง อาจหยุดหายใจและหัวใจวายตายได้
การดำเนินโรค ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันกาล คนไข้มักจะเสียชีวิต จากภาวะหยุดหายใจ ภายในเวลาไม่นาน (อาจเป็นสัปดาห์) ส่วนผู้ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ผลการรักษาขึ้นกับความรุนแรงของโรค ถ้าได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม (มีเพียงอาการขากรรไกรแข็ง) ก็มักจะมีโอกาสหายขาดได้ แต่ถ้าปล่อยไว้จนมีอาการรุนแรง (เช่น หลังแอ่น ชักเกร็งทั้งตัวรุนแรง)โอกาสรอดก็มีน้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพบในทารกแรกเกิดหรือคนสูงอายุ โดยเฉลี่ย คนไข้บาดทะยักมีโอกาสรักษาให้รอดชีวินได้ประมาณร้อยละ ๕๐
การป้องกัน โรคนี้แม้ว่าจะมีความร้ายแรง แต่ก็สามารถป้องกันได้ง่ายๆ ด้วยการฉีดวัคซีน ซึ่งมีหนทางปฏิบัติ ดังนี้
๑. เด็กทุกคนควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก โดยการฉีดวัคซีนรวมป้องกันคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน (วัคซีน DTP) รวม ๕ เข็ม เมื่ออายุ ๒ เดือน, ๔ เดือน, ๖ เดือน, ๑ ขวบครึ่ง, ๒ ขวบ และ ๔-๕ ขวบ หลังจากนั้นควรฉีดกระตุ้นทุกๆ ๑๐ ปี
๒. หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักมาก่อน ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้รวม ๓ ครั้ง โดยเริ่มฉีดเข็มแรกเมื่อฝากครรภ์ครั้งแรก เข็มที่ ๒ ห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย ๑ เดือน และเข็มที่ ๓ ห่างจากเข็มที่ ๒ อย่างน้อย ๖ เดือน (ถ้าฉีดไม่ทันขณะตั้งครรภ์ ก็ฉีดหลังคลอด)
ถ้าหญิงตั้งครรภ์เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคนี้มาแล้ว ๑ ครั้ง ควรให้อีก ๒ ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย ๑ เดือน ในระหว่างตั้งครรภ์
ถ้าหญิงตั้งครรภ์เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคนี้ครบชุด (๓ ครั้ง) มาแล้วเกิน ๕ ปี ให้ฉีดกระตุ้นอีกเพียง ๑ ครั้ง แต่ถ้าเคยฉีดครบชุดมาแล้วไม่เกิน ๕ ปี ก็ไม่ต้องฉีดกระตุ้น
๓. ควรแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์คลอดกับบุคลากรที่รู้จักรักษาความสะอาดในการทำคลอด ไม่ใช้ไม้รวก ตับจาก มีดหรือกรรไกร ที่ไม่ได้ทำการฆ่าเชื้อตัดสายสะดือเด็ก นอกจากนี้ควรแนะนำให้รู้จักทำความสะอาดสะดือเด็ก ไม่บ้วนน้ำหมาก น้ำลายลงบนสะดือเด็ก
๔. เมื่อมีบาดแผลตะปูตำ หนามตำ สัตย์กัด ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือบาดแผลสกปรก ควรชะล้างบาดแผลด้วยน้ำสะอาดกับสบู่ทันที
สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักมาก่อน ถ้าบาดแผลสกปรกหรือแผลใหญ่ ควรแนะนำให้ผู้ป่วยรับการฉีดอิมมูนโกลบูลินต้านพิษบาดทะยัก (human tetanus immune globulin) หรือเซรุ่มแก็พิษบาดทะยัก (tetanus antitoxin) ยาชนิดหลังนี้ทำจากเซรุ่มม้า อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ ทางที่ดีควรฉีดในสถานพยาบาลที่มีอุปกรณ์ช่วยชีวิตเตรียมไว้พร้อม
ส่วนผู้ที่เคยฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักมาก่อน ควรฉีดกระตุ้นซ้ำอีก ๑ เข็ม ไม่ต้องฉีดอิมมูนโกลบูลินหรือเซรุ่มแก็พิษบาดทะยัก แต่ถ้าเพิ่งได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักภายใน ๕ ปี ก็ไม่ต้องฉีดกระตุ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น