amazon

วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โรคร้ายสะสมจากการบริโภค



โรคร้ายสะสมจากการบริโภค รู้ทันป้องกันได้
โรคหลอดเลือดหัวใจโรคจากความอ้วนโรคหลอดเลือดสมอง
ไขมันผิดปกติเบาหวานความดันเลือดสูงโรคจากบุหรี่โรคหลอดเลือดหัวใจโรคจากความอ้วนโรคหลอดเลือดสมองไขมันผิดปกติิเบาหวานความดันเลือดสูงโรคจากบุหรี่โรคหลอดเลือดหัวใจโรคจากความอ้วนโรคหลอดเลือดสมองไขมันผิดปกติิเบาหวานความดันเลือดสูงโรคจากบุหรี่โรคหลอดเลือดหัวใจโรคจากความอ้วนโรคหลอดเลือดสมองไขมันผิดปกติิเบาหวานความดันเลือด
โรคร้ายแห่งการสะสม คือโรคที่เกิดจากการสะสมของอาหารที่กินเกิน (เพราะกินมากไปจนร่างกายใช้ไม่หมด) ความเครียดเกิน    สารพิษจากสิ่งแวดล้อมที่มากเกิน เป็นต้น ซึ่งเกินกว่าร่างกายขับถ่ายออกได้หมด ทำให้เกิดการสะสม เช่น สะสมในหลอดเลือดจน   ตีบ จนตัน หรือสะสมในเซลล์ อวัยวะต่างๆ จนเกิดความผิดปกติของการทำงานของเซลล์ และอวัยวะต่างๆ 

โรคร้ายแห่งการสะสม (พอกพูน) ได้แก่ เบาหวาน ความดันเลือดสูง ไขมันผิดปกติ โรคที่เกิดจากการสูบ  บุหรี่ โรคที่เกิดจากความอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ (หลอดเลือดหัวใจตีบตัน ทำให้เกิดหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย) โรคหลอดเลือดสมอง (หลอดเลือด     สมองตีบตัน ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต) และมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม เป็นต้น

องค์การอนามัยโรค รายงานว่า ในปี พ.ศ.๒๕๔๕ ประชากรโลกทั้งหมด ๖,๒๐๐ กว่าล้านคน จะเสียชีวิต ไปประมาณ ๕๗ ล้านคน สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ ๑ คือ โรคหัวใจขาดเลือด
ร้อยละ ๑๒.๖ เสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือด (โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน)
ร้อยละ ๑๒.๕ เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 
ร้อยละ ๙.๖ เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต)
ร้อยละ ๑.๗ เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน 

สำหรับคนไทย จากรายงานของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าในปี พ.ศ.๒๕๔๒
ชายไทยเสียชีวิตจากโรคเอดส์ (ร้อยละ ๑๗) โรค หลอดเลือดสมอง (ร้อยละ ๙) โรคมะเร็งตับ (ร้อยละ ๗) โรคหัวใจขาดเลือด (ร้อยละ ๕) โรคเบาหวาน (ร้อยละ ๓)
หญิงไทยเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง (ร้อยละ ๑๕) โรคเบาหวาน (ร้อยละ ๘) โรคหัวใจขาดเลือด (ร้อยละ ๕) โรคมะเร็งตับ (ร้อยละ ๕)

จะเห็นได้ว่าโรคร้ายแห่งการสะสมอื่น เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันเลือดสูง โรคอ้วน ภาวะไขมันผิดปกติ การสูบบุหรี่ ไม่ได้อยู่ในสาเหตุการเสียชีวิตดังกล่าว แต่ปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง และมะเร็งหลายชนิด 

โรคร้ายแห่งการสะสมได้ระบาดไปทั่วโลก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ ๑ ของคนไทยและประชากรโลกในปัจจุบัน 
ทุกๆ ๔ นาทีครึ่ง จะมีคนไทยอย่างน้อย ๑ คน เสียชีวิตจากโรคร้ายแห่งการสะสม คือ โรคหัวใจ หลอดเลือด โรคความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน มะเร็งต่างๆ 
ทุกๆ ๑ นาที จะมีประชากรโลกอย่างน้อย    ๔๐ คน เสียชีวิตจากโรคร้ายแห่งการสะสมเช่นกัน

ข่าวร้ายคือโรคร้ายแห่งการสะสมจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในบ้านเรา จากรายงานของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แสดงไว้ว่าตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๓-๒๕๔๖
ผู้ป่วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นจาก ๗๒ คนต่อประชากรแสนคน เป็น ๑๐๑ คนต่อแสน
โรคเบาหวานเพิ่มขึ้นจาก ๑๕๗ คนต่อประชากรแสนคน เป็น ๓๘๐ คนต่อแสน
โรคความดันเลือดสูงเพิ่มขึ้นจาก ๒๕๙ คนต่อประชากรแสนคน เป็น ๓๘๙ คนต่อแสน
โรคหัวใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก ๒๙๑ คนต่อประชากรแสนคน เป็น ๔๕๑ คนต่อแสน
โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน และภาวะไขมันผิดปกติ ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ข่าวดี คือโรคร้ายแห่งการสะสมป้องกันได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทุกขภาพ คือการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม ไม่สมดุลกับร่างกายของแต่ละคน ให้เป็นพฤติกรรมสุขภาพ
ทำไมเบาหวาน จึงเป็นโรคสะสม
เบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการกินน้ำตาล ของหวานมากเกินกว่าที่ตับอ่อนจะสร้างฮอร์โมนอินซูลินให้พอที่จะนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ให้หมดที่ตับและกล้ามเนื้อ ซึ่งประกอบกับขาดการใช้กล้ามเนื้อในการออกกำลังกายเป็นประจำ ทำให้ใช้น้ำตาลน้อยลง น้ำตาลในเลือดจะสูงโดยเฉพาะเวลาหลังกินอาหาร และน้ำตาลจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ระยะยาวเกิดเป็นโรคเบาหวานขึ้น

น้ำตาลที่สูงขึ้นในเลือด จะไปสะสมอยู่ตามหลอดเลือดอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะ "สมอง ใจ ไต ตา เท้า" ทำให้หลอดเลือดอักเสบ และเกิดตีบตันได้ง่าย 
สมองขาดเลือดเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต 
หัวใจขาดเลือดเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวาย 
ไตขาดเลือดจนเป็นไตวายเรื้อรัง 
ตามัวจนอาจถึงกับตาบอด  
เท้าขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้เป็นแผล ติดเชื้อง่าย บางครั้งเท้าเน่า จนอาจต้องตัดเท้า ตัดขา 

ดังนั้น ผู้ใดที่อายุมากกว่า ๔๕ ปี อ้วนลงพุง น้ำหนัก เกิน หรือมีความดันเลือดสูง มีประวัติครอบครัวเป็น     เบาหวาน และสงสัยว่าจะเป็นเบาหวาน เช่น มีอาการกินเก่ง น้ำหนักลด หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย (โดยเฉพาะ เวลากลางคืน) ตกขาวคันช่องคลอด (ในผู้หญิง) เป็นแผลแล้วหายยาก เป็นต้น ควรได้รับการตรวจน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหารอย่างน้อย ๘ ชั่วโมง 
ถ้าน้ำตาลในเลือดมากกว่า ๑๒๖ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรก็เป็นเบาหวาน 
แต่ถ้าน้ำตาลในเลือดมากกว่า ๑๑๐ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แสดงว่ากำลังจะเป็นเบาหวาน
 
ความดันเลือดสูงสะสมอะไร
ความดันเลือดสูงส่วนใหญ่ (มากกว่าร้อยละ ๙๐) มีสาเหตุจากการใช้ชีวิต
การใช้ชีวิตที่เกี่ยวกับความดันเลือดสูงก็คือการกินอาหาร (หวานจัด มันจัด เค็มจัด เนื้อสัตว์มากเกิน   ผัก ผลไม้สดน้อยเกิน) ขาดการออกกำลังกาย ความอ้วน นอนกรนและหยุดหายใจขณะนอนหลับ หรือจากยา อาหาร เครื่องดื่ม (ยาแก้ปวดข้อ ปวดกระดูก โสม กาแฟ แอลกอฮอล์) และโรคต่างๆ (โรคไต โรคต่อมหมวดไต โรคหลอดเลือดผิดปกติ) 

นอกจากนี้ ภาวะจิตใจที่เกี่ยวข้องกับความดันเลือด สูง เช่น ความมุ่งมั่นในการงานมากเกิน ทำงานแข่งขัน แข่งกับเวลามากเกินไป หรืออาฆาตพยาบาทคนอื่น เก็บกดความโกรธมากเกินไป  
ความดันเลือดที่สูงขึ้น จะส่งผลต่อหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ คือสมอง ใจ ไต ตา คือ
หลอดเลือดสมองเพิ่มโอกาสเกิดหลอดเลือดสมองตีบ ตัน เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต เลือดออกในสมอง ปวดศีรษะมาก อาจหมดสติ หรือถึงแก่ชีวิตได้
หลอดเลือดหัวใจเพิ่มโอกาสเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบ ตัน หัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย
หลอดเลือดไตเพิ่มโอกาสเกิดไตวาย
หลอดเลือดที่ตาผิดปกติอาจมีเลือดออกในจอประสาทตา

คนไทยอายุมากกว่า ๔๕ ปีขึ้นไป ควรได้รับการวัดความดันเลือดอย่างน้อยปีละครั้ง เมื่อพบว่าความดันเลือดตัวบนสูงกว่า ๑๔๐ มิลลิเมตรปรอท หรือความดันเลือดตัวล่างสูงกว่า ๙๐ มิลลิเมตรปรอท อย่างน้อย ๒-๓ ครั้ง ติดต่อกันอย่างน้อย ๒ สัปดาห์ขึ้นไป แสดงว่าเป็นโรคความดันเลือดสูง ควรได้รับการดูแลรักษาต่อไป ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ จนเกิดโรคแทรกซ้อนที่อันตรายตามมา

ไขมันผิดปกติสะสมไขมันคอเลสเทอรอล ? ไขมันที่เกี่ยวกับความผิดปกติโรคหัวใจและหลอดเลือด คือ ไขมันไม่ดี (low density lipoprotein cholesterol : LDL) และไขมันที่ดี (high density lipoprotein cholesterol: HDL) 
ไขมันไม่ดี (LDL) ได้จากอาหารมันๆ ที่กินเข้าไป และสร้างจากตับมากเกินไป จะรวมกับสารอนุมูลอิสระ (ของเสียที่ร่างกายสร้างขึ้นมา) จนสะสมอยู่ที่หลอดเลือด ตามอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย และเปลี่ยนเป็นไขมันไปพอกที่พุง ทำให้เกิดอ้วนลงพุงตามมา
ไขมันดี (HDL) ทำหน้าที่ขนไขมันไม่ดีส่วนเกินไป ทิ้งที่ตับ น้ำดี ขับออกจากร่างกายทางอุจจาระ (เหมือน รถขนขยะคอเลสเทอรอลที่มากเกินไปทิ้ง) 
ถ้าปริมาณไขมันดี ไม่สามารถขนไขมันไม่ดีไปทิ้งได้หมด ก็จะเกิดการสะสมไขมันไม่ดีในหลอดเลือดและที่พุง
ถ้าสะสมที่หลอดเลือดสมอง จนตีบ ตัน จะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
ถ้าสะสมที่หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ ตัน จะเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย
ถ้าสะสมที่หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไต ทำให้ไตเสื่อม ไตวาย และความดันเลือดสูง
คนไทยอายุมากกว่า ๔๕ ปีขึ้นไป มีภาวะไขมันสูง คือระดับคอเลสเทอรอลในเลือดสูงกว่า ๒๔๐ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือกินยาลดไขมัน อยู่ร้อยละ ๑๕.๘-๓๒.๘ ผู้หญิงมีภาวะไขมันสูงกว่าผู้ชาย
กลุ่มอายุที่เป็นภาวะไขมันสูงมากที่สุด คือผู้หญิง กลุ่มอายุมา ๖๐-๗๙ ปี (ร้อยละ ๓๒) และผู้ชายกลุ่มอายุ ๔๕-๖๙ ปี (ร้อยละ ๒๐) 
  
บุหรี่ สะสมสารพิษ
สารต่างๆ ในบุหรี่มีอยู่พันกว่าชนิด แต่ที่มีผลสำคัญ ต่อหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง ได้แก่ สารนิโคติน ที่สะสมในร่างกายจะกระตุ้นสมองสั่งให้หัวใจบีบแรงขึ้น เต้นเร็วขึ้น และความดันเลือดสูงขึ้น 

ที่สำคัญคือทำให้หลอดเลือดหัวใจและสมองหดตัวแคบลง  หรือการสะสมสารคาร์บอนมอนอกไซด์จากบุหรี่ จะไปแทนที่ออกซิเจนในอากาศที่หายใจเข้าไป ทำให้หัวใจและสมองขาดออกซิเจน ขาดพลังงานหรือสะสมสารอนุมูลอิสระ

สารพิษในบุหรี่ทำให้เกล็ดเลือดเกาะตัวกัน และเลือดแข็งตัวอุดตันหลอดเลือดง่ายขึ้น มากขึ้น 
ถ้าเกิดที่หลอดเลือดสมอง ก็เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต 
ถ้าเกิดที่หลอดเลือดหัวใจ ก็เกิดหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย

นอกจากนี้สารพิษต่างๆ ของบุหรี่ที่สะสมในหลอดลม หลอดอาหาร ปอด และอวัยวะอื่นๆ ทำให้เกิดโรคถุงลมปอดโป่งพอง โรคมะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหาร เป็นต้น ผู้ที่ใกล้ชิดคนที่สูบบุหรี่และได้รับควันบุหรี่เป็นประจำ ร่างกายจะสะสมสารพิษ และเพิ่มโอกาสเสี่ยงเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ตัน กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือเป็นมะเร็งได้ 
ตัวอย่างผู้ป่วยที่พบคือสามีสูบบุหรี่ ภรรยาซึ่งไม่ได้สูบบุหรี่เอง แต่กลับเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ    หรือภรรยาสูบบุหรี่ สามีที่ไม่ได้สูบบุหรี่เป็นมะเร็งปอด เป็นต้น
แม้แต่การสูดหายใจมลพิษในอากาศสารแขวน ลอยขนาดเล็กมากๆ ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าสะสมเป็น เวลานาน ก็เป็นเหตุปัจจัยเพิ่มโอกาสให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (หัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต) และเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวด้วย  

เมื่อสารพิษเข้าสู่ร่างกาย ภูมิคุ้มกันสิ่งแปลกปลอม จะเก็บกินสารเหล่านี้ และพยายามกำจัด ขับออกทางตับ ไต ทางอุจจาระ ปัสสาวะ ลมหายใจ ผิวหนัง เป็นต้น แต่ถ้าสารพิษหรือของเสียมากเกินกว่าที่ร่างกายจะขับออก ขจัดออกได้หมด และได้ทัน ประกอบกับมีเหตุปัจจัยให้ภูมิคุ้มกันสิ่งแปลกปลอมในร่างกายเราอ่อนแอลง ทำงานขับของเสียได้น้อยลง (เช่น ความเครียด ยากดภูมิคุ้มกัน) สารพิษของเสียเหล่านี้ก็จะสะสมตามอวัยวะต่างๆ จนการทำงานผิดปกติไป หรือเซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงจนกลายพันธ์เป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด

บุหรี่ ไม่ว่าสูบเองหรือสูดดมจากคนใกล้ชิดสูบ การหายใจมลพิษในอากาศเป็นเวลานาน จะสะสม สารพิษต่างๆ ในร่างกาย จนเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งได้
อ้วน สะสมน้ำหนักแล้ว เป็นอย่างไร

ความอ้วนเกิดจากการไม่สมดุลของการกินอาหารและการออกกำลังกาย ผู้ที่กินอาหารที่ให้พลังงานมากกว่าการใช้พลังงานจากการออกกำลังกาย หรือกิจกรรมทางกาย ในชีวิตประจำวัน (กินแล้วใช้ไม่หมด) น้ำหนักจะเพิ่มขึ้น 

อาหารที่ทำให้อ้วน ได้แก่ อาหารพวกไขมัน แป้ง น้ำตาล ของหวาน ผลไม้ แอลกอ-ฮอล์ อาหารที่ร่างกายใช้ไม่หมดจะสะสมที่ส่วนต่างๆ โดยเฉพาะที่พุง ทำให้รอบเอวใหญ่ขึ้น ควบคู่ไปกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น

การสะสมน้ำหนักของคนอ้วน นอกจากทำให้เหนื่อยง่ายขึ้น ทำงานไม่กระฉับ-กระเฉงแล้ว ยังเพิ่มโอกาสที่จะเกิดโรคความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน ไขมันผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง และมะเร็งบางชนิด   

ความอ้วนเกิดจากการสะสมอาหารที่กินมากเกินกว่าร่างกายจะใช้หมด ทำให้เกิดโรคแห่งการสะสม อย่างอื่นๆ ตามมาได้ 
ชายไทยอายุมากกว่า ๑๕ ปีขึ้นไป อ้วนถึงร้อยละ ๒๒.๕  มีเส้นรอบเอวที่เกินมาตรฐาน ๙๐ เซนติเมตร พบร้อยละ ๑๕
ส่วนหญิงไทยอ้วนร้อยละ ๓๔.๔ เส้นรอบเอวที่เกินมาตรฐาน ๘๐ เซนติเมตร
พบร้อยละ ๓๖ ประชากรชายหญิงในเขตกรุงเทพฯ และในเขตเทศบาลจะอ้วนมากกว่าในเขตอื่นๆ

สะสมอะไรจึงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ 
ไขมันในอาหาร เครื่องดื่ม ที่กินเข้าไปจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันไม่ดีทำให้ระดับไขมันดังกล่าวสูงขึ้นในเลือดมากจนล้นเข้าไปเกาะอยู่ตามหลอดเลือด  เมื่อไขมันรวมกับสารอนุมูลอิสระซึ่งเป็นของเสียที่เกิดจากการทำงานของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ทำให้เกิดไขมันไม่ดีที่อันตรายมากขึ้น ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวถูกดึงมาสะสมในหลอดเลือด เพื่อเก็บกินไขมันและสารอนุมูลอิสระเหล่านี้ จะเกิดการอักเสบขึ้นในหลอดเลือด ถ้ามีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เช่น ผู้ป่วยเบา-หวาน น้ำตาลจะสะสมและทำให้การอักเสบนี้จะลุกลามได้มากขึ้น  ถ้ามีแรงกระแทกจากความดันเลือดที่สูงผสมด้วยแล้ว ทำให้หลอดเลือดที่อักเสบเกิดปริแตกเป็นแผล เกล็ดเลือดและเม็ดเลือดจะรวมตัวกันเป็นก้อนเลือดอุดตันหลอดเลือด

ยิ่งถ้าสูบบุหรี่ด้วย สารนิโคตินที่อยู่ในบุหรี่จะสะสม ในหลอดเลือดทำให้เลือดเกาะกันเป็นก้อนเลือดใหญ่ขึ้นจนอาจเกิดหลอดเลือดตัน ผู้ป่วยจะเจ็บแน่นหน้าอกอย่างมาก เหงื่อแตก ใจสั่น บางคนอาจถึงกับหมดสติ ถ้าไม่มีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจภายใน ๖ ชั่วโมง จะจะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย บางครั้งเกิดการเต้นหัวใจผิดจังหวะอย่างรุนแรงจนเสียชีวิตได้
   
คนไทยตายด้วยโรคหัวใจ ๑๗,๐๐๐ กว่าคน หรือประมาณ ๒ คนต่อชั่วโมง 
จังหวัดที่มีคนตายด้วยโรคหัวใจมากที่สุด คือ กรุงเทพฯ ๓,๐๐๐ คนต่อปี   
ทุกๆ ครึ่งชั่วโมงจะมีคนไทยอย่างน้อย ๑ คน ตายจากโรคหัวใจ
ทุกๆ วัน จะมีคนกรุงเทพฯ อย่างน้อย ๘ คน ตายจากโรคหัวใจ
โรคหัวใจที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุดคือ โรคหลอดเลือดหัวใจ 

อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นโรคร้ายแห่งการสะสมได้อย่างไร
โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคหลอดเลือดสมองตีบ มีการเกิดโรคที่คล้ายกับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ     ดังนั้น ภาวะสะสมที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ก็ทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตได้เหมือนกัน เช่น ไขมันไม่ดี สารอนุมูลอิสระที่เพิ่มขึ้นหรือขาดสารขจัดอนุมูลอิสระจากผัก ผลไม้ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจากเบาหวาน สูบบุหรี่ และความดันเลือดสูง 

นอกจากนี้ ภาวะการเต้นหัวใจห้องบนผิดจังหวะอย่างรุนแรง และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวขึ้น ก็ทำให้เพิ่มโอกาสการเกิดก้อนเลือดที่หัวใจหลุดไปอุดตันหลอดเลือดสมอง ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

ความดันเลือดสูง นอกจากเพิ่มโอกาสเกิดหลอดเลือดสมองอุดตันแล้ว ยังทำให้เกิดหลอดเลือดสมองแตก เลือดออกในสมองได้ บางครั้งจำเป็นต้องผ่าตัดสมองฉุกเฉิน บางรายถึงกับเสียชีวิต

คนไทยตายด้วยโรคหลอดเลือดสมอง ๑๕,๐๐๐ กว่าคน หรือประมาณ ๑ คนกว่าๆ ต่อชั่วโมง 
จังหวัดที่มีคนตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองมากที่สุดคือ กรุงเทพฯ ซึ่งครองแชมป์ตลอดกาลคือ ๒,๒๐๐ กว่าคนต่อปี   
โรคหลอดเลือดสมองที่คนไทยเป็นส่วนใหญ่เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต (ร้อยละ ๗๐) ส่วนอีกร้อยละ ๓๐ เกิดจากหลอดเลือดสมองแตก ทำให้เลือดออกในสมอง  
        
โรคร้ายแห่งการสะสมมาเป็นกลุ่ม 
ส่วนใหญ่อาจเริ่มด้วยโรคใดโรคหนึ่งก่อนและจะมีโรคที่ ๒, ๓ หรือ ๔ ตามมาก็ได้ เช่น เริ่มด้วยน้ำหนักเกิน อ้วน ตามด้วยความดันเลือดสูง ต่อมาเป็นเบาหวาน และเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดสมองตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือบางคนอาจเป็นเบาหวาน ความดันเลือดสูง อ้วน แล้วต่อมาก็เกิดมะเร็งเต้านมตามมา เป็นต้น
จากการติดตามศึกษาสาเหตุการตายของผู้ป่วยเบาหวานที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จำนวน ๒๐๐ กว่ารายเป็นเวลาเฉลี่ย ๔ ปีเศษ พบว่าสาเหตุการตายอันดับ ๑ คือการติดเชื้อในกระแสเลือด รองลงมาคือโรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวายระยะสุดท้าย และมะเร็ง ตามลำดับ 

โรคร้ายแห่งการสะสมเป็นโรคที่ระบาดทั่วโลกตามกระแสวัตถุนิยม บริโภคนิยม ทำให้เกิดการ บริโภคอาหาร เครื่องดื่ม เกินจนร่างกายใช้ไม่หมด (ขาดการออกกำลังกาย) ขับออกจากร่างกายไม่ทัน และเกิดโรคร้ายในที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น