- ดูรอยแผล ถ้างูไม่มีพิษ แผลจะเป็นรอยถลอก ให้ ทำแผลแบบแผลถลอก ถ้าแผลไม่ลุกลาม หรือไม่มีอาการอื่น ไม่ต้องไปหาหมอ แผลจะหายเอง. ถ้างูมีพิษจะมีรอยเขี้ยว (คล้ายเข็มฉีดยา) 1 หรือ 2 จุด (ดังรูป) หากสงสัยถูกงูพิษกัด ให้รักษาตามข้อ 2-7.
- พูดปลอบใจ อย่าให้กลัวหรือตกใจ, ให้นอนนิ่งๆ, ถ้าจำเป็นให้เคลื่อนไหวน้อยที่สุด (อย่าเคลื่อนไหวส่วนที่ถูกกัดถ้าไม่จำเป็น).
- ห้ามดื่มเหล้า, ยาดองเหล้า หรือยากล่อมประสาท.
- ห้ามใช้มีดกรีดปากแผล ห้ามบีบเค้นบริเวณแผล เพราะจะทำให้แผลช้ำ สกปรก และทำให้พิษกระจายเร็วขึ้น.
- ห้ามขันชะเนาะรัดแขนหรือขา เพราะจะเกิดอันตรายมากขึ้น (ถ้าจะรัดควรใช้ผ้ามากกว่าเชือก และอย่ารัดแน่นจนสอดนิ้วผ่านไม่ได้).
- รีบพาไปหาหมอ ถ้าเป็นไปได้ควรนำซากงูที่กัดไปด้วย แต่ผู้ป่วยไม่ควรพยายามตีงูเอง เพราะหลังถูกงูกัด ควรอยู่นิ่งๆ และให้คนอื่นตีงูแทน แต่ไม่ควรเสียเวลากับการตีงู ควรสังเกตสีและรูปร่าง ถ้ามองเห็น แล้วรีบไปโรงพยาบาล (อย่าเสียเวลากับงู).
- ถ้าหยุดหายใจ ให้ เป่าปากช่วยหายใจ (รูป ซ. วิธีเป่าปากช่วยหายใจ)
หมายเหตุ* บาดแผลในที่นี้หมายถึงบาดแผลที่ทำให้ผิวหนังฉีกขาด ผู้ที่จะทำแผลให้ผู้อื่นต้องไม่มีบาดแผลที่มือและแขนของตนเอง ถ้ามีถุงมือยางควรใส่ถุงมือด้วย.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น